การบูชาวัตถุมงคลทางพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสม ของประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

WORSHIPING SACRED OBJECTS IN BUDDHISM TO PROMOTE PROPER BEHAVIOR OF PEOPLE OF MUANG DISTRICT NONG KHAI PROVINCE

  • พระมหาจันที ธมฺมวิริโย (สีลาใหล) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวัตถุมงคลทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาการบูชาวัตถุมงคลทางพระพุทธศาสนาของประชาชนอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 3) เพื่อศึกษาการบูชาวัตถุมงคลเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมดีในทางพระพุทธศาสนาของประชาชนอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์


ผลการวิจัยพบว่า 1) วัตถุมงคลทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทยวัตถุมงคลทางพระพุทธศาสนา หมายถึงสิ่งของทั้งที่เกิดมีเองโดยธรรมชาติและสิ่งของที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น ด้วยความเชื่อว่าจะเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุขความเจริญ ความเป็นสิริมงคล โชคลาภหรือเป็นเครื่องป้องกันภัยต่างๆ ซึ่งได้แก่พระเครื่อง เครื่องรางของขลังชนิดต่างๆ วัตถุมงคลมีผลต่อสังคมไทยในด้านความเชื่อการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะเป็นการปรารภพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ที่เป็นอารมณ์หรือเป็นเครื่องระลึกถึงเหตุให้เรามีโอกาสในการพัฒนากายและจิตของเราไปในทางบุญกุศล ทำให้เกิดอิทธิพลด้านความเชื่อคือความเชื่อในอานุภาพของพระพุทธมนต์ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ความเชื่อในข้อปฏิบัติหรือปฏิปทาของเกจิอาจารย์ อิทธิพลของสื่อโฆษณา ด้านพิธีกรรมคืออิทธิพลของวัตถุมงคลต่อการประกอบพิธีกรรม หรือพิธีพุทธาภิเษก และอิทธิพลภายหลังการประกอบพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ด้านจิตใจคือสร้างความมั่นอกมั่นใจ ด้านศิลปะและพุทธพาณิชย์และการลวดลายอักขระเกิดขึ้น 2) การบูชาวัตถุมงคลทางพระพุทธศาสนาของประชาชนอำเภอเมือง จังหวัดหนองคายพบว่า ประชาชนส่วนมากบูชาวัตถุมงคลของหลวงพ่อพระใสที่มีอยู่ทุกบ้าน และพระเครื่องที่แต่ละวัดนั้นได้สร้างขึ้นจากกิจกรรมงานบุญประเพณี เช่น หลวงพ่อมีชัย วัดมีชัยท่า หลวงพ่อพระสวยวัดยอดแก้ว หลวงพ่อพระเสาร์ วัดประดิษฐ์ธรรมคุณ (วัดหอก่อง) หลวงพ่อพระสุก วัดศรีคุณเมือง หลวงพ่อพระแสง วัดศรีษะเกษ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช วัดจอมมณี ซึ่งเป็นพระที่ประชาชนส่วนมากในจังหวัดหนองคายนับถือและบูชา และยังมีวัตถุมงคลที่ได้จากสัตว์ จากพืช จากเกจิ การบูชาองเทพเจ้า และการบูชาพญานาค 3) การบูชาวัตถุมงคลเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมดีในทางพระพุทธศาสนาของประชาชนอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย มีพฤติกรรมคือการละความชั่วโดยการยึดมั่นในวัตถุมงคลการรักษาศีลที่เห็นได้ในข้อห้ามในการใช้วัตถุมงคลและทุกกระบวนการขั้นตอนของการสร้างหากเป็นฆราวาสก็ต้องนุ่งขาวห่มขาว สมาทานศีล 5 หรือ ศีล 8

References

ชนาภัทร์ วงศ์โรจนภรณ์. (2554). การศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลของคําสอนเรื่องพรหมในคัมภีร์ พระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2535). อธิบายหลักธรรมตามหมวดจากนวโกวาท. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.

ศิระนันท์ รัตนาสมจิตร.(2547). เช็งเม้ง : ความหมาย พิธีกรรม และความเปลี่ยนแปลง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพร เจนวิทยาอมรเวช. (2555). พฤติกรรมการเช่า ความเชื่อ และความศรัทธาในพระเครื่องและวัตถุมงคลของเภสัช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุวรรณ สุวรรณเวโช. (2546). บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในมิติใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

แสง จันทร์งาม. (2534). ศาสนศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
Published
2023-01-09
How to Cite
ธมฺมวิริโย (สีลาใหล), พระมหาจันที. การบูชาวัตถุมงคลทางพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสม ของประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 78-86, jan. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2436>. Date accessed: 21 nov. 2024.