การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารโรงเรียน ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3

GUIDELINES FOR THE DEVELOPMENT OF INFORMATION TECHNOLOGY IN 21st Century OF SCHOOLSUNDER KALASIN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3

  • ปิ่นสุดา มังคะรัตน์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • คมสันทิ์ ขจรปัญญาไพศาล มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • รัชฎาพร งอยภูธร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) อศึกษาปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์  เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21  ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำแนกตามสถานภาพและขนาดของโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 199 คน และครูหัวหน้าผู้รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนจำนวน 199 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน และครูหัวหน้างานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย 2) การเปรียบเทียบปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ตามความคิดของ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครูหัวหน้างานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความคิดเห็นต่อปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) การเปรียบเทียบปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ตามความคิดของผู้อำนวยการโรงเรียน และครูหัวหน้างานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียนรายด้านและโดยรวมแตกต่างกัน 4) จากการวิเคราะห์ข้อมูลแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 เสนอแนวทางเป็นรายด้านไว้ดังนี้ 4.1) ด้านการบริหารงานทั่วไป  ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญในการสร้างแหล่งเรียนรู้ควรมีการเก็บฐานข้อมูลที่เป็นออนไลน์ และออฟไลน์เพราะเมื่อพบปัญหาทางระบบเครือข่ายก็สามารถเรียกใช้ฐานข้อมูลที่เก็บไว้ในรูปแบบออฟไลน์ได้ จัดอบรมในเรื่องที่เกี่ยวกับบริหารทั่วไป และศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศด้านการใช้เทคโนโลยีบริหารงานด้านการบริหารงานทั่วไป 4.2) ด้านการบริหารงานบุคคล การลงเวลา ปฏิบัติราชการของครู  ควรใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการลงเวลา เพื่อเช็คและจัดเก็บสถิติข้อมูล การมาปฏิบัติราชการ ให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ในทุกๆที่และใช้เทคโนโลยีในการวางแผนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาครูให้ใช้เทคโนโลยี เพื่อการดำเนินการต่างๆ 4.3) ด้านงบประมาณ การจัดเก็บฐานข้อมูล ค้นคว้าบนระบบเครือข่าย ถ้ามีฐานข้อมูลด้านงบประมาณก็จะง่ายต่อการปรับ ปรุงแก้ไขแผนการจัดการงบประมาณ ควรใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดเก็บข้อมูล

References

จีรวุฒิ คล่องแคล่ว. (2563). สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ทิพวัลย์ นนทเภท. (2559). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา ในสังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยอีสเทอร์นเอเชีย.

ไพรัช ธัชยพงษ์, พิเชษฐ์ ดรุงคเวโรจน์. (2541). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ :สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ภัทรพล ประเสริฐแก้ว. (2559). สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงาน วิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศุภสิริ พัฒนภักดี. (2558). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาล เมืองนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (2563) แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2563-2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. กาฬสินธุ์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3.

สุทิพย์ ประทุม. (2565). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในยุควิถีชีวิตใหม่. นราธิวาส :มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.

หฤทัย อรุณศิริ. (2557). ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. ลพบุรี : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

อนุพงศ์ อัตถไพศาล. (2558). ศึกษาสภาพการใช้และปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการ บริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาของอำเภอเกาะสมุย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
Published
2023-01-24
How to Cite
มังคะรัตน์, ปิ่นสุดา; ขจรปัญญาไพศาล, คมสันทิ์; งอยภูธร, รัชฎาพร. การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารโรงเรียน ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 45-55, jan. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2433>. Date accessed: 03 july 2024.