แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2

GUIDELINES FOR THE DEVELOPMENT OF SUPERVISION WITHIN EDUCATIONAL INSTITUTIONS USING THE CONCEPT OF A PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY IN EDUCATIONAL INSTITUTIONS UNDER THE SURIN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

  • ธิดารัตน์ หัตถมา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นของนิเทศภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 และ 2) ออกแบบ สร้าง และประเมินแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 โดยดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ค่าอำนาจจำแนกของข้อคำถามแต่ละข้ออยู่ระหว่าง 0.56-0.76 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การออกแบบ สร้างและประเมินแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแนวทาง จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการติดตาม รองลงมาคือ ด้านการวางแผนนิเทศอย่างมียุทธศาสตร์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการเผยแพร่และขยายผล สำหรับสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการติดตาม รองลงมาคือ ด้านการวางแผนนิเทศอย่างมียุทธศาสตร์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการเผยแพร่และขยายผล และลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ด้านการเผยแพร่และขยายผล มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านข้อมูลและสารสนเทศ และด้านที่มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด คือ ด้านการติดตาม 2. แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ  2) จุดมุ่งหมาย 3) แนวทางการพัฒนา จำนวน 5 ด้าน ประกอบด้วย 3.1) ด้านข้อมูลและสารสนเทศ จำนวน 8 แนวทาง 3.2) ด้านการวางแผนนิเทศอย่างมียุทธศาสตร์ จำนวน 7 แนวทาง 3.3) ด้านการจัดการที่เน้นพัฒนาครูและนักเรียน จำนวน 11 แนวทาง 3.4) ด้านการติดตาม จำนวน 6 แนวทาง และ 3.5) ด้านการเผยแพร่และขยายผล จำนวน 5 แนวทาง 4) กลไกการดำเนินงาน และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ โดยผลการประเมินแนวทางของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก

References

กรมวิชาการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายใน. กรุงเทพฯ : ธารอักษร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

คณะกรรมาธิการการศึกษา. (2564). บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2564. จาก https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ ewt/25_education/ewt_dl_link.php?nid=491&filename=index

ชนิดา วิสะมิตนันท์. (2555). กลยุทธ์การบริหารราชการการจัดการแหล่งเรียนรู้ที่เป็นระบบและเอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. สงขลา : หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 3.

ธเนศ ขำเกิด. (2555). นิเทศการศึกษา คุยเฟื่องเรื่องนิเทศการศึกษา 1 นิเทศการศึกษานั้นสำคัญไฉน. วิทยาจารย์. 112(1). 25-27.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). การนิเทศการสอน. กรุงเทพฯ : สื่อเสริมกรุงเทพ.

พุทธชาด แสนอุบล. (2561). สภาพ ปัญหา และแนวทางการปรับปรุงการนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วารสารบัณฑิตศึกษา. 15(70). 171-181.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2554). การนิเทศการศึกษา Education Supervision. สงขลา : เทมการพิมพ์.

วนิดา ภูวิชัย. (2562). การพัฒนาแนวทางดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริราชพยาบาล. (2563). การจัดการความรู้. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2565. จาก https://www2.si. mahidol.ac.th/km/knowledgeassets/learningorganization/13154/

ศิริวรรณ์ ฉายะเกษตริน. (2552). การนิเทศแบบร่วมพัฒนา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 3(1). 67-87.

สถาพร สมอุทัย. (2564). การนิเทศการศึกษา หนึ่งตัวช่วยในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยวิชาการ. 5(3). 275-288.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2. (2564). รายงานผลการติดตามประเมินคุณภาพการศึกษา. สุรินทร์ : หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2556). เอกสารแนวทางการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สุทธนูศรีไสย์. (2549). หลักการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อธิศ ไชยคิรินทร์. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา.วิ ทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. 3rd ed. New York : McGraw-Hill.

Hord, S. M. (1997). Professional Learning Communities: Communities of Continuous Inquiry and Improvement. Retrieved 1 May 2022. Form http//:www.sedl. org/siss/plccredit.html

Hoy, W. K. and Cecil, G. M. (2001). Education Administration: Theory, Research and Practice. 6th ed. Boston : McGraw – Hill.

Minor, G. (1974). Theory and practice of supervision. New York : Dodd, Mead &. Company.

Sergiovanni, T. J. (1998). Leadership as Pedagogy, Capital Development and School Effectiveness. International Journal of Leadership in Education. 1(1). 37-46.
Published
2023-04-18
How to Cite
หัตถมา, ธิดารัตน์; จุลสุวรรณ์, สุวัฒน์. แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 637-650, apr. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2156>. Date accessed: 25 apr. 2024.