การประเมินโครงการพัฒนาการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สังกัดเทศบาลเมืองสุรินทร์
THE EVALUATION OF THE EDUCATION DEVELOPMENT PROJECT FOR SCHOOL EXCELLENCE, LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION UNDER THE MUNICIPALITY OF SURIN
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ของโครงการพัฒนาการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สังกัดเทศบาลเมืองสุรินทร์ 2) ศึกษาผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และ การถ่ายโยงความรู้ของโครงการ 3) ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการฯ ศึกษาโดยใช้ประชากรทั้งหมด ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 58 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 45 คน ในปีการศึกษา 2564 รวมทั้งหมด 103 คน และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 11 คน นักเรียน จำนวน 310 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน ในปีการศึกษา 2565 รวมทั้งหมด 329 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามประเมินโครงการ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.91แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้านผลกระทบ ผู้ปกครองมีความคาดหวังและต้องการให้นักเรียนเข้ามาเรียนด้านประสิทธิผล ทุกฝ่ายร่วมมือพัฒนาการจัดการศึกษาด้านความยั่งยืน เกิดความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน ด้านการถ่ายโยงความรู้ โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน 3) ผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
จักรพรรดิ วะทา. (2559). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. วิทยาจารย์. 116(1). 37-44.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงทพฯ :
สุวีริยาสาส์น.
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2556). การประเมินโครงการ : แนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2560). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : อินโนกราฟฟิกส์.
สายฟ้า หาสีสุข และธินิดา พิลาล้ำ. (2565). การประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนบ้านเมืองแก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 2(1). 21-31.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการปฏิบัติงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา.
สุพรรณิการ์ เรืองศรี และกิติพัฒน์ นนทปัทมะดุล. (2564). การประเมินผลโครงการพัฒนาสังคมชุมชนบนพื้นที่สูงตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. 29(1). 251-293.
สุรีย์พร พิณพาทย์. (2564).รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษาโดยยึดหลักการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านหนองปากดง. กาญจนบุรี : โรงเรียนบ้านหนองปากดง.
อำรุง จันทวานิช. (2547). แนวทางการบริหารและการพัฒนาสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพ. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จํากัด.
เอกชัย ศรีวิไล. (2560). การประเมินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนนําร่องสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยใช้รูปแบบประเมิน 360 องศา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Aletta Grisay&Lars Mahlck. (1991). The Quality of Education in Developing Countries: A Review of Some Research Studies and Policy Documents. Paris : International Institute for Education Planning’s Printshop.
Cobb, P., Confrey, J., diSessa, A., Lehrer, R., Schauble, L. (2003). Design experiments in educational research. Educational Researcher. 32(1). 9–13.
Gregory M. Bounds. (1994). Beyond Total Quality Management: toward the Emerging Paradigm. New York : McGraw-Hill.
Hoy, W. & C. Miskel. (2001). Educational Administration: Theory, Research, and Practice. New York : McGraw-Hill.
Stufflebeam&Daniel. (2003). The CIPP model for Evaluation. International Handbook of Educational Evaluation. 9. 31-62.
Stufflebeam&Shinkfield. (2007). Evaluation Theory, Models and Applications. New York : John Wiley and Sons.