ฟ้อนเกี้ยว : นาฏยลักษณ์และกลวิธีในการแสดงหมอลำกลอน

COURTSHIP DANCE: DANCE AND STRATEGIES IN PERFORMING MOR LAM KLON

  • ฐปนี ภูมิพันธุ์ วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Abstract

            การวิจัยเรื่องฟ้อนเกี้ยว : นาฏยลักษณ์และกลวิธีในการแสดงหมอลำกลอน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและองค์ประกอบในการแสดงหมอลำกลอน 2) เพื่อศึกษานาฏยลักษณ์การฟ้อนเกี้ยวในการแสดงหมอลำกลอน 3) เพื่อศึกษากลวิธีการฟ้อนเกี้ยวในการแสดงหมอลำกลอน วิธีการศึกษาจากเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสังเกตและสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ จากกลุ่มผู้รู้ จำนวน 11 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 6 คน และกลุ่มบุคคลทั่วไป 30 คน แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์


            ผลการวิจัยพบว่า หมอลำกลอนมีต้นกำเนิดมาจากหมอลำพื้นซึ่งเป็นหมอลำที่เก่าแก่ การเทศน์โจทย์ของพระสงฆ์ และการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวชาวอีสานโดยมีองค์ประกอบในการแสดงอยู่ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้แสดง ทำนองลำ กลอนลำ เครื่องดนตรี การแต่งกาย เวที โอกาสในการแสดง ขั้นตอนการแสดง นาฏยลักษณ์ การฟ้อนเกี้ยวของหมอลำกลอนวาดอุบลราชธานีมีลักษณะที่ช้าเรียบร้อยและนุ่มนวล เน้นสุนทรียภาพ เรียกได้ว่าเป็นทางหวาน มีท่าฟ้อน 8 ท่า การฟ้อนเกี้ยวของหมอลำกลอนวาดขอนแก่นมีจังหวะลวดลายออกลิงออกค่าง มีความสนุกเร้าใจเรียกได้ว่าเป็นทางดุมีท่าฟ้อน 15 ท่า การฟ้อนเกี้ยวของหมอลำกลอนวาดพุทไธสงมีลีลาท่าทางการฟ้อนมีความรวดเร็ว โลดโผน และเน้นพลังเรียกได้ว่าเป็นทางห้าวมีท่าฟ้อน 16 ท่า เป็นการฟ้อนที่สร้างความรื่นเริงบันเทิงใจ ความสุขความพอใจให้แก่ผู้ชม กลวิธีการฟ้อนเกี้ยวในการแสดงหมอลำกลอนเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงทักษะ ความรู้ ความสามารถ และไหวพริบปฏิภาณของผู้ฟ้อน 2 คน ความงดงามของการฟ้อนเกี้ยวไม่ได้อยู่ที่ความพร้อมเพรียงแต่อยู่ที่ความสัมพันธ์ของท่วงทีลีลา จังหวะ ทิศทางการเคลื่อนที่ การเคลื่อนไหวร่างกาย รวมถึงการถ่ายทอดอารมณ์ของคู่ฟ้อนที่แสดงออกมาได้อย่างสมจริง สามารถดึงดูดให้ผู้ชมเข้าถึงอรรถรสในการแสดงได้ กลวิธีการฟ้อนเกี้ยวมีทั้งหมด 5 ลักษณะ ได้แก่ กลวิธีการฟ้อนเกี้ยวเพื่อดูชั้นเชิงของคู่ฟ้อน กลวิธีการฟ้อนเกี้ยวเพื่อเข้าประกบคู่ กลวิธีการฟ้อนเกี้ยวเพื่อแสดงท่ารุก-รับ กลวิธีการฟ้อนเกี้ยวเพื่ออวดฝีมือ และกลวิธีการฟ้อนเกี้ยวเพื่อประชันขันแข่ง ที่เกิดจากภูมิปัญญาอันเป็นแบบอย่างการฟ้อนเกี้ยวของนาฏศิลป์พื้นเมืองอีสาน

References

ขวัญแก้ว ดำรงคศิริ. (2539). ผลการใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะโดยเน้นจุดประสงค์ที่มีต่อความพร้อมทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เครือจิตร ศรีบุญนาค. (2554). ตำรานาฏกรรมพื้นบ้านอีสาน. โครงการจัดทำตำราและงานวิจัยเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.

จรัส ลาดนอก ผู้ให้สัมภาษณ์. 4 กันยายน 2565. ณ ปะรำพิธี หน้าที่ว่าการอำเภอ จังหวัดมหาสารคาม

เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2558). หมอลำหมอแคน : ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่เปรียบดั่งแก้วสารพัดนึกของชาวอีสาน. มหาสารคาม : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม.

ฉวีวรรณ พันธุ ผู้ให้สัมภาษณ์. 10 ตุลาคม 2565. ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ประจำปีพุทธศักราช 2536. ณ ปะรำพิธี หน้าที่ว่าการอำเภอ จังหวัดมหาสารคาม

ทองพูล มุขรักษ์. (2557). กระบวนท่าฟ้อนในการแสดงหมอลำกลอนวาดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 5(2). (185-194).

พรสวรรค์ พรดอนก่อ. (2560). วาดหมอลำอีสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการวิจัยทางศิลปกรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร ผู้ให้สัมภาษณ์. 22 ตุลาคม 2565. ณ ปะรำพิธี หน้าที่ว่าการอำเภอ จังหวัดมหาสารคาม

สิทธิรัตน์ ภู่แก้ว. (2550) การฟ้อนเกี้ยวของหมอลำกลอน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิทธิศักดิ์ จำปาแดง. (2554). วรรณคดีอีสานวิวัฒนาการสู่วรรณกรรมกลอนลำ. มหาสารคาม :โครงการสัมมนาระดับภูมิภาคเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมประเภทเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

สุกัญญา สุจฉายา. (2545). เพลงพื้นบ้านศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์คติชนวิทยาร่วมกับโครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสียงชัย สาสีเสาร์. (2564). เพศวิถีในวรรณกรรมคำสอยของหมอลำกลอนและหมอลำซิ่งร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โอสถ บุตรมารศรี. (2538). ภาพสะท้อนของสังคมอีสานจากกลอนลำของหมอลำเคนดาเหลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Hall, Sturat. (1990). Cultural Identity and Diaspora In J. Rutherford (Ed.), Identity: Community, Culture, Difference. London : Lawrence & Wishart.
Published
2023-02-14
How to Cite
ภูมิพันธุ์, ฐปนี. ฟ้อนเกี้ยว : นาฏยลักษณ์และกลวิธีในการแสดงหมอลำกลอน. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 610-624, feb. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2154>. Date accessed: 24 apr. 2024.