การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
THE DEVELOPMENT OF SCIENCE PROCESS SKILLS AND LEARNING MANAGEMENT USING THE 5ES OF INQUIRY-BASED LEARNING WITH SCIENCE GAMES AT GRADE 4
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดย ใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยให้มีคะแนนตั้งแต่ร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้เกมวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยให้มีคะแนนตั้งแต่ร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโนนบ่อ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้เกมวิทยาศาสตร์ จำนวน 7 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 14 ชั่วโมง โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในกระประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบการวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทั้ง 3 ทักษะมีสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ร้อยละ 70 โดยมีทักษะมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.67 คิดเป็นร้อยละ 88.35 และ 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จัดอยู่ในเกณฑ์ที่มีความสามารถ ระดับดีมาก (คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 18.44 คิดเป็นร้อยละ 75)
References
กุณฑรี เพ็ชรทวีพรเดช. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน PPSDE model และการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ. การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ในโรงเรียนครั้งที่ 19 (วทร.19). 26-28 มกราคม 2552. ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
ชาตรี ฝ่ายคำตา และภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์. (2557). การเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 29(3). 86–99.
ณัฐวดี บุญรัตน์ (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวรการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับชุดกิจกรรม. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
พันธ์ ทองชุมนุม. (2547). การสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ภวิกา เลาหไพฑูรย์ และกมล โพธิเย็น. (2561). การสอนโดยใช้เกมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนและเลข 3 หลักของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 14(2). 155-170.
โรงเรียนบ้านโนนบ่อ. (2563). รายงานผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563. ขอนแก่น : โรงเรียนบ้านโนนบ่อ.
วิจารณ์ พานิช (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
ศรายุทธ อิสระสุข. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องอาหาร และสารอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5E) กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2560. จากhttp://www.edu.ru.ac.th/images/edu_pdf/sarayut_26012559.pdf
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดการเรียนรู้กลุ่ม วิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2561). การจัดกระบวนการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
สุพัตรา เชื้อสะอาด. (2560). การพัฒนาเกมวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองหอย จังหวัดชัยภูมิ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
อรทัย แก่นจันทร์. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด เรื่อง สารในชีวิตประจาวัน ที่มีต่อผลสมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชนประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณุ์” จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.