ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1
THE RELATIONSHIP BETWEEN SCHOOL ADMINISTRATORS’ TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP AND THE STUDENT ASSISTED SYSTEM IN SMALL-SIZE SCHOOLs UNDER CHAIYAPHUM PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 1
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็ก 2) งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็ก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 246 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุดคือ การกระตุ้นทางปัญญา รองลงมาคือ การสร้างวิสัยทัศน์ ส่วนด้านที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุดคือ การสร้างแรงบันดาลใจ 2. งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุดคือ การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน รองลงมาคือ การคัดกรองนักเรียน ส่วนด้านที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุดคือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง และมีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
จงรักษ์ เงินพุ่ม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารระบบดูแล
ช่วยเหลือนักเรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ :
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชาญวิทย์ บางศรี และวานิช ประเสริฐพร. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง
ของครูกับการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
นครินทร์ นิ่มมา และจิรวัฒน์ วรุณโรจน์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง
ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดําเนินงาน ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการแนวคิดทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี : สํานักพิมพ์มนตรี.
รุ้งนภา จันทร์ลี. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็น
องค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
จันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สัมมา รธนิธย์. (2556). ภาวะผู้นำของผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
งบประมาณพ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565. จาก https://www.chaiyaphum 1.go.th/service/operation-report
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ :
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุนทร โคตรบรรเทา. (2563). ภาวะผู้นําในองค์การสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.
Bass & Avolio, B. J. (1994). The implications of transactional and transformational
leadership for individual, team, and organization development. Thousand Oaks, CA : Sage.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row Publications.