ความต้องการจำเป็นและแนวทางการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
NEED AND GUIDELINES FOR PERSONNEL MANAGEMENT IN SMALL SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF KHON KAEN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 5
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขนาดเล็ก และ 2) แนวทางการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูฝ่ายบริหารงานบุคคล รวมทั้งสิ้น 167 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่ง ชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น จากการศึกษาสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติดีเยี่ยม จำนวน 1 โรงเรียน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูฝ่ายบริหารงานบุคคล จำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขนาดเล็ก สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขนาดเล็กโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขนาดเล็ก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง รองลงมาคือ ด้านวินัยและการรักษาวินัย และด้านการพัฒนาบุคคล ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และด้านการออกจากราชการ 2. แนวทางการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขนาดเล็ก ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งคือ ผู้บริหารและครูควรร่วมกันวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง กำหนดคุณลักษณะหรือคุณสมบัติงานให้สอดคล้องกับบุคคล ด้านวินัยและการรักษาวินัยคือ สถานศึกษาควรจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวินัยแก่บุคลากร ด้านการพัฒนาบุคคลคือ ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูเข้าร่วมการอบรม เพื่อให้นำความรู้ลงสู่การพัฒนาสถานศึกษา ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้งคือ สถานศึกษาควรมีการกำหนดเกณฑ์หรือมาตรฐานการคัดเลือกบุคคลตรงตามความต้องการของสถานศึกษา ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการคือ ควรมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคลในสถานศึกษาที่เหมาะสม และด้านการออกจากราชการคือ ผู้บริหารควรแจ้งระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ วินัยสำหรับข้าราชการครูให้แก่บุคลากรรับทราบร่วมกัน
References
ญาณิศา ประสิทธิ์ผล. (2560). การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในเขตอำเภอปลวกแดง สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.
เตือนใจ คล้ายแก้ว. (2560). แนวทางการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในจังหวัดพิจิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 41. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนคร.
เทพรัตน์ ดาวเรือง. (2560). การารบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอยะหา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฏยะลา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. (2563). รายงานการปฏิบัติงานประจำปีกลุ่มบริหารงานบุคคล. ขอนแก่น : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2560 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.
สุชีรา ศศิวรเดช. (2560). การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในกลุ่มบ้านฉางพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.