แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
GUIDELINES FOR DEVELOPING THE PARTICIPATION OF THE EDUCATIONAL BOARD IN THE ADMINISTRATION MANAGE EDUCATIONAL INSTITUTIONS UNDER THE OFFICE OF MAHA SARAKHAM PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA 1
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารจัดการสถานศึกษา จากกลุ่มตัวอย่างสถานศึกษา 40 โรงเรียน แบ่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 40 คน ครูผู้สอน จำนวน 66 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 87 คน รวม 193 คนสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารจัดการสถานศึกษา จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คนเครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 - 1.00 สภาพปัจจุบันมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.38 - 0.75 และสภาพที่พึงประสงค์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.36 - 0.74 แแบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยวิธีการตีความแล้วนำเสนอแบบพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และค่าดัชนีการเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น อยู่ระหว่าง 0.34 - 0.38 2. แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารจัดการสถานศึกษา พบ 34 แนวทาง แบ่งเป็น ด้านงานวิชาการ 12 แนวทาง ด้านงานงบประมาณ 6 แนวทาง ด้านการบริหารงานบุคคล 8 แนวทาง และด้านการบริหารงานทั่วไป 8 แนวทาง โดยมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงทพฯ :
สุวีริยาสาส์น.
มาติกา ประชารักษ์สกุล. (2560). การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 4.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม : ประชาชน องค์กรปกครองและราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : บุ๊คพอยท์.
วรุณยุภา คะโยธา. (2558). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดศรีเมืองสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบ ประมาณ พ.ศ.2563. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). คู่มือการดำเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : แม็ทซ์พอยท์.
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2547). ชุดฝึกผู้นำอบรมชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.
เสกสรร กระยอม. (2559). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดการศึกษาของกลุ่มโรงเรียนพนัสนิคม 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
หวน พินธุพันธ์. (2553). การบริหารโรงเรียน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.