กลยุทธ์การใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
STRATEGY FOR USING THE PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY OF THE SCHOOL UNDER THE OFFICE OF THE NON-FORMAL AND INFORMAL EDUCATION OF THE NORTH EAST
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู กศน. จำนวน 240 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น 2) สร้างกลยุทธ์ฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู กศน. จำนวน 6 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น PNI Modified
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับ มากที่สุด ลำดับความต้องการจำเป็น ด้านวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ ด้านภาวะผู้นำร่วม ด้านชุมชนกัลยาณมิตร ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ และด้านปัจจัยสนับสนุน ตามลำดับ 2. ผลการสร้างกลยุทธ์ ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ คือ 1) กลยุทธ์การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน 2) กลยุทธ์การสร้างทีมร่วมแรงร่วมใจ 3) กลยุทธ์การมีภาวะผู้นำร่วมกัน 4) กลยุทธ์ชุมชนกัลยาณมิตร 5) กลยุทธ์การเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ และ 6) กลยุทธ์ปัจจัยสนับสนุนสู่ความสำเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
References
นงนุช สุระเสน. (2561). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
นนทิยา สายแสงจันทร์. (2561). การส่งเสริมความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 12. นครปฐม : เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.
พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551. (2563, 5 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 125 ตอนที่ 41 ก. หน้า 3.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2552). การบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อโลกใบเล็ก. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2556). แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู (PLC). วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 10(1). 34-46.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด และเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2557). รายงานการวิจัยรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบท โรงเรียนในประเทศไทย. ปัตตานี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
วัชราพร แสงสว่าง. (2563). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2560). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : อินโนกราฟฟิกส์.
สรรเพชญ โทวิชา. (2562). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สันติ สีลา และวิเชียร รู้ยืนยง. (2564). แนวทางการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11 (2). 29-43.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2557). PMQA เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : วิชั่นพริ้นท์แอนด์มีเดีย.
สำนักงานพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา. (2561). แนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ของสำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2563. จาก https://www.spvc.ac.th /vt21/Manual-PLC.pdf
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดขอนแก่น. (2561). แนวทางการประกันคุณภาพภายในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขต. ขอนแก่น : กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงาน กศน. จังหวัดขอนแก่น.
สุธรรมธรรม ทัศนานนท์. (2558). หลักการ ทฤษฎีและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุภีร์ สีพาย. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2558). กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทาง วิชาชีพ สำหรับครูโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Fidler Brian. (2002). Strategic Management for School Development. London : Chapman Publishing.
Hairon, S. & Dimmock, C. (2012). Singapore schools and professional learning communities: teacher professional development and school leadership in an Asian hierarchical system. Educational Review. 64. 405-424.
Hord, S.M. (1997). Professional Learning Communities: Communities of Continuous Inquiry and Improvement. Retrieved 24 December 2019. From http://www.sedl. org/siss/plccredit.html
Kenoyer, F.E. (2012). Case study of professional learning community characteristics in an Egyptian private school. Ed.D. Thesis. Columbia International University.
Koontz, H., & Weihrich, H. (1990). Essentials of Management. New York : McGraw-Hill.
Wheelen, T. L., & Hunger, J. D. (2012). Strategic Management and Business Policy. Toward Global Sustainability : Pearson Prentice Hall.