การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการโดยใช้วงจรคุณภาพสำหรับสถานศึกษา สังกัดเทศบาลตำบลในจังหวัดมหาสารคาม
DEVELOPING THE GUIDELINES OF ACADEMIC ADMINISTRATION BY USING QUALITY CONTROL CIRCLE FOR SCHOOLS UNDER SUB-DISTRICT MUNICIPALITIES IN MAHA SARAKHAM PROVINCE
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลตำบลในจังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการโดยใช้วงจรคุณภาพ สำหรับสถานศึกษาสังกัดเทศบาลตำบลในจังหวัดมหาสารคาม การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลตำบล ในจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร และครู สังกัดโรงเรียนเทศบาลตำบล จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการโดยใช้วงจรคุณภาพ สำหรับสถานศึกษาสังกัดเทศบาลตำบลในจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครูของโรงเรียนต้นแบบ 2 แห่ง จำนวนรวม 6 คน และผู้ทรงคุณวุฒิผู้ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลตำบล ในจังหวัดมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลตำบลในจังหวัดมหาสารคาม เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ การบริหารทรัพยากรส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การบริหารหลักสูตร การนิเทศการจัดการเรียนรู้และการทำงาน การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้และการบริหารการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ 2. แนวทางการบริหารงานวิชาการโดยใช้วงจรคุณภาพ สำหรับสถานศึกษาสังกัดเทศบาลตำบล ในจังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย 7 ด้าน 40 ตัวชี้วัด 81 แนวทาง ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง โดยรวมอยู่ในระดับมาก
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2549). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาแผนพัฒนาสามปีและแผนดำเนินงาน). กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2561). คู่มือประเมิน การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (School-based Management for Local Development - SBMLD). กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชนิสรา ชุมวงศ์. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิคม สุวรรณปักษ์. (2563). การศึกษาวิเคราะห์เพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลา กระบวนงานการจัดทำแผนจัดซื้อจัดจ้าง หมวดครุภัณฑ์ที่ดินสิ่งก่อสร้าง ศูนย์ภูมิภาค คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ด้วยแนวคิด Lean และเครื่องมือ ECRS (Eliminate Combine Rearrange& Simplify). กรุงเทพฯ : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.
ระวิพรรณ รมภิรัง และสมชาย บุญศิริเภสัช. (2558). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเทศบาลเมืองลำพูน. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (Proceedings) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15. 1129-1138.
โรงเรียนเทศบาลนาเชือก. (2562). รายงานผลการดำเนินงานปีการศึกษา 2562. มหาสารคาม : โรงเรียนเทศบาลนาเชือก.
สังคม สมฤทธิ์. (2552). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนภูซางวิทยาคม อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา. การศึกษาอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2562). รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final report) โครงการจัดทำดัชนีวัดคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบและสำรวจข้อมูลแรงงานนอกระบบ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.