สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ

QUALITY ASSURANCE STATE IN EDUCATIONAL INSTITUTIONS IN THE DIGITAL ERA UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE UBON RATCHATHANI AMNAT CHAROEN

  • จารุกิตติ์ สุดสุข คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • อธิป เกตุสิริ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ชวนคิด มะเสนะ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ โดยจำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ จำนวน 470 คนสถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และ
การทดสอบค่า F


            ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคดิจิทัล
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญโดยรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2. เปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ จำแนกตามตำแหน่ง พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานและจำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01

References

กลมชนก แก้วสุภรัตน์. (2559). การมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ลีนวัตร ฉัตรสุวรรณ. (2557). การดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สมนึก นครวงศ์. (2563). สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัชยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. (2563). ข้อมูลสารสนเทศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. อุบลราชธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. อุบลราชธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรสังกัดสานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2562–2565. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2551). หลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน คุณภาพภายนอกการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การ มหาชน).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

Ayeni Adeolu Joshua. (2014). Principals and Parents Partnership for Sustainable Quality Assurance in Nigerian Secondary School. Nigeria : Adekule Ajasin University.

Cele, Victoria Zamandosi. (2009). The Management of the Implementation of Quality Assurance Policies: The Case of Integrated Quality Management System in Secondary Schools in Kwa Zulu Natal. Masters Abstracts International. 47(03). unpaged.

Chong, M. C. (2009). Is Reflective Practice a Useful Task for Student Nurses?. Asian Nursing Research. 3(3). 111-120.
Published
2022-06-21
How to Cite
สุดสุข, จารุกิตติ์; เกตุสิริ, อธิป; มะเสนะ, ชวนคิด. สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 348-358, june 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2129>. Date accessed: 25 apr. 2024.