ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากธรรมชาติบน เพจเฟซบุ๊ก Lalil ของผู้บริโภคในประเทศไทย
CAUSAL FACTORS INFLUENCING LOYALTY TO BUY NATURAL SKINCARE PRODUCTS ON LALIL FACEBOOK PAGE OF CONSUMERS IN THAILAND
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุความภักดีในการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากธรรมชาติบนเพจเฟซบุ๊ก Lalil ของผู้บริโภคในประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากธรรมชาติบนเพจเฟซบุ๊ก Lalil ของผู้บริโภคในประเทศไทย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากธรรมชาติบนเพจเฟซบุ๊ก Lalil และพักอาศัยในประเทศไทย จำนวน 428 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และโมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลความสัมพันธ์ที่เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านประสบการณ์ต่อตราสินค้า 2) ด้านการรับรู้ต่อตราสินค้า 3) ด้านภาพลักษณ์ต่อตราสินค้า 4) ด้านการรับรู้คุณภาพบริการ 5) ด้านการรับรู้คุณค่า 6) ด้านความภักดี สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ (χ2) = 486.28, ค่าองศาอิสระ (df) = 354, ค่า CMIN/df = 1.37, ค่า GFI = 0.92, ค่า AGFI = 0.90, ค่า SRMR = 0.04, ค่า RMSEA = 0.03 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.92 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความภักดีในการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากธรรมชาติบนเพจเฟซบุ๊ก Lalil ได้ร้อยละ 92 ด้านประสบการณ์ต่อตราสินค้าด้านการรับรู้คุณค่าด้านภาพลักษณ์ต่อตราสินค้าด้านการรับรู้คุณภาพบริการด้านการรับรู้ต่อตราสินค้ามีอิทธิพลต่อความภักดีในการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากธรรมชาติบนเพจเฟซบุ๊ก Lalil ตามลำดับ
References
จูลี่ เมย์ มิ่งเจริญ. (2563). อิทธิพลการรับรู้คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการรับรู้คุณค่าและความภักดีในการใช้บริการซื้อบัตรโดยสารผ่านเว็บไซต์สายการบินไทยของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์. 24(3). 179-192.
ดารณี เกตุชมภู และขนิษฐา ทองเชื้อ. (2564). อิทธิพลของประสบการณ์ตราสินค้าและความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความภักดีต่อตราสินค้าสำหรับมหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 10(1). 1-11.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพมณี ภารุ่งโรจน์รัตน์ และทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร (2560). คุณภาพการบริการและกรอบการศึกษาเชิงประจักษ์. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร. 14(1). 26-37.
นลินี จันทรประภาพร และสวัสดิ์ วรรณรัตน์ (2563). สมการโครงสร้างอิทธิพลของประสบการณ์ตราสินค้าและความไว้วางใจในตราสินค้าต่อความภักดีในตราสินค้า: บริษัทตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์มือสองในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 40(4). 1-15.
บริษัท สกินไบโอเทค (ประเทศไทย) จำกัด. (2563). แนวโน้มการตลาดเครื่องสำอางธรรมชาติ. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2564. จาก http://www.skinbiotechthai.com/
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). Insights ผู้บริโภคไตรมาสแรก 2020. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษจิกายน 2564. จาก https://www.marketingoops.com/digital-life/digital-2020-april-global-statshot-report/
Brand Buffet. (2563). ถึงเวลาแบรนด์ความงามต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เมื่อโควิด-19 ทำพฤติกรรม ‘ความสวย’ เปลี่ยนไป. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษจิกายน 2564. จาก https://www.brandbuffet. in.th/2020/07/beauty-product-trends-after-covid19/
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis. 7th ed. New York : Pearson.
Hoelter, J. W. (1983). The Analysis of Covariance Structures: Goodness-of-Fit Indices. Sociological Methods and Research. 11(3). 325–344.
Jeon,H.M., &Yoo, S.R. (2021). The relationship between brand experience and consumer-based brand equity in grocer ants. Service Business. 15(4). 369-389.
Kline, R.B. (2011). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. 3rd ed. New York, NY : The Guildford Press.
Lalil. (2021). About Lalil. Retrieved 25 November 2022. From https://www.lalil.com/ index_line.php/about-lalil