การพัฒนาความรู้ความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์ โดยใช้ชุดฝึกการเขียนแผน การจัดประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

COGNITIVE DEVELOPMENT ANALYTICAL THINKING BY USING A SET OF PRACTICE WRITING PLANS, ORGANIZING EXPERIENCES, CREATIVE ARTS ACTIVITIES, 3rd YEAR STUDENT IN EARLY CHILDHOOD EDUCATION MAHAMAKUT BUDDHIST UNIVERSITY ROI ET CAMPUS

  • นารีรัตน์ จันทวฤทธิ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • ปิยะสุดา เพชราเวช มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • วีณา ภาคมฤค มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • วรรษิษฐา อัครธนยวมนต์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์ โดยใช้ชุดฝึกการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด 2)เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอของนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์ โดยใช้ชุดฝึกการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 14 คน ที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ชุดฝึกการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดฝึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for dependent Samples)


           ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบคะแนนนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์ โดยใช้ชุดฝึกการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ สูงกว่าก่อนการใช้ชุดฝึกการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. การเปรียบเทียบคะแนนทดสอบความรู้ความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์คิดเป็นค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานดังนี้ ก่อนการใช้ชุดฝึกการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 7.36 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.24 หลังการใช้ชุดฝึกการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 16.71 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.59 ซึ่งผลต่างของคะแนนก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ9.36ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.78 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหลังจากการใช้ชุดฝึกการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์ สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้ชุดฝึกการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 3. ความพึงพอใจในภาพรวมของนักศึกษาที่มีต่อการใช้ชุดฝึกการเขียนแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.10 อยู่ในระดับดีมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.

ชุมศรี ไพบูลย์กุลกร. (2549). การพัฒนาชุดฝึกอบรมครูเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ประทีป แสงเปี่ยมสุข. (2554). แนวการสร้างแบบฝึก. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของ สกสค.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์

มานพ ตรัยตรากุล. (2543). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่องการจัดกิจกรรมกลางแจ้งสำหรับ ครูผู้สอนระดับก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขวงวิชาหลักสูตรและการสอน. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

โศภิษฐ์ ผดุงโภค. (2560). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการแต่งประโยคเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องมาตรฐานวิชาชีพครู การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ : บริษัท โบนัสพรีเพรส จํากัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
Published
2023-02-21
How to Cite
จันทวฤทธิ์, นารีรัตน์ et al. การพัฒนาความรู้ความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์ โดยใช้ชุดฝึกการเขียนแผน การจัดประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 125-134, feb. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2108>. Date accessed: 26 apr. 2024.