การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2
PARTICIPATORY ADMINISTRATION OF ACADEMIC AFFAIRS BASED ON THE SANGAHAVATDHU IN THE SCHOOLS UNDER THE ROI ET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักคุณธรรมสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 2)เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักคุณธรรมสังคหวัตถุ 4 3)เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักคุณธรรมสังคหวัตถุ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในโรงเรียน จำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีความเที่ยงตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNI
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน รองลงมา คือ ด้านหลักสูตรและนำหลักสูตรไปใช้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักสูตรและนำหลักสูตรไปใช้ รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา 2. ความต้องการจำเป็นเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นดังนี้ 1) ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 2) ด้านหลักสูตรและนำหลักสูตรไปใช้ 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน 4) ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียน 5) ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา 3. แนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักคุณธรรมสังคหวัตถุ 4 จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา สรุปได้ดังนี้การวางแผนบริหารจัดการหลักสูตรสร้างเกณฑ์การประเมินความสำเร็จของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาประชุมจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามสาระและหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานวัดประเมินผลวางแผนการนิเทศและรับการนิเทศภายในสถานศึกษา
References
กัลยาณี ทบเทิบ, จตุพร เพ็งชัย, ชัยยุทธ ศิริสุทธิ. (2560). การศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์และแนวทางการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนสาธิต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 36(5). 1-11.
ประภาศิริ คูนาคำ, ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์, ฉลาด จันทรสมบัติ. (2558). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 10(2). 58-70.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2555). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พงษ์ศักดิ์ ภูกาบขาว. (2540). การพัฒนาหลกัสูตร หลักการ และแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : อลินเพรส.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพฯ : สายธาร.
พระมหาวิรัตน์ จารุวํโส (ดูหฤคำ). (2564). การบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมมีอุปการะมากของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(2). 112-125.
อัศวรินทร์ แก่นจันทร์. (2562). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.