ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP OF SPECIAL EDUCATION SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE NORTHEAST BUREAU SPECIAL EDUCATION

  • กชนิภา ภานุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูชัยรัตนากร , ดร. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2)เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตามระดับการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F-test


           ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจรองลงมา คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนศึกษาพิเศษ  สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ไม่พบความแตกต่างกัน  3. ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากคำถามปลายที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ผู้บริหารควรยึดหลักคุณธรรมจริยธรรมในการตัดสินใจทำงาน มีความซื่อสัตย์สุจริตและไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบสามารที่จะนำเทคนิค วิธีการมาใช้ในการบริหารจัดการได้ตามสถานการณ์ ควรสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรเกิดแรงบันดาลใจในการทำงานสร้างความเชื่อมั่นให้แก่บุคลากรในการทำงานเอาชนะปัญหามุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน ควรกระตุ้นให้ครูมีความกระตือรือร้นในการทำงานเป็นทีมเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดภารกิจขององค์กรการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานแก่ครูและบุคลากร ควรส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานมีการพัฒนาตนเองและสนใจในการการพัฒนาจุดเด่นของตัวผู้ร่วมงาน และควรนำทักษะและประสบการณ์มาใช้ในการวางแผนและแก้ไขปัญหาดูแลและเอาใจในครูและบุคลากรอย่างทั่วถึง

References

ชนชญา สังข์พญา และโยธิน ศรีโสภา. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์. 8(2). 318-333.

ทองใบ สุดชารี. (2544). ภาวะผู้นําและการจูงใจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี : สํานึกพิมพ์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ทัศวรรณ์ ชัยฉลาด และสจีวรรณ ทรรพวสุ. (2560). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกระบุรีวิทยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นทการศึกษามัธยมศึกษา เขต 14. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ธุมากร เจดีย์คำ. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2560). แผนพัฒนาการจัดการศึกษาสงเคราะห์ราชประชานุเคราะห์ระยะ 5 ปี สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (2560-2564). สืนค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564. จาก http://special.obec.go.th

Krejcie, R. V.& Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.

Mohsen, A., & Mohammad, R.D.. (2011). Considering Transformational Leadership Model in Branches of Tehran Social Security Organization. Social and Behavioral Sciences. 5(7). 360-378.

Roger Gill, Niall Levine and Douglas C. P.. (1998). Administrative Process. New Delhi: Penrice Hall of India.
Published
2022-03-22
How to Cite
ภานุรักษ์, กชนิภา; ถิ่นแสนดี, ธีรภัทร์; , ดร., พระครูชัยรัตนากร. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 93-102, mar. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2098>. Date accessed: 29 mar. 2024.