การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
THE BUDDHIST MONKS’ PARTICIPATION IN THE DEVELOPMENT OF COMMUNITIES IN THE SELAPHUMI DISTRICT, ROI ET PROVINCE
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2)เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 3)เพื่อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระสงฆ์ในเขตอำเภอ เสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 222 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านสังคม รองลงมา คือ ด้านวัฒนธรรมด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านสาธารณสุข 2. ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดจำแนกอายุ พรรษา ระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนควรมีแนวทางการถวายความรู้แก่พระภิกษุสงฆ์ชุมชนควรให้ความใส่ใจกับการจัดกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญต่างๆ เพื่ออนุรักษ์ส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณี เป็นการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมให้เจริญยิ่งขึ้นฝ่ายปกครองในชุมชนควรให้ความร่วมมือกับพระสงฆ์ในการจัดกิจกรรมหรือโครงการอบรมเพื่อต่อต้านยาเสพติดให้แก่ประชาชน ควรปลูกจิตสำนึกให้แก่ชุมชนมีจิตอาสาในการอนุรักษ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
References
ปลื้ม โชติษฐยางกูล. (2550). กฎหมายคณะสงฆ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พรชัย พันธุ์ธาดาพร. (2559). บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
พระครูวิสิฐรัตนคุณ (รามเกียรติ์). (2558). การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ต่อการพัฒนาชุมชนในอำเภอเมืองจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุระพงษ์ สุรวํโส (สีหมอก). (2555). ภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการบริหารการพัฒนาชุมชน กรณีศึกษาพระครูโพธิวีรคุณ วัดโพธิการาม ตำบลโพนสูง อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม). คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พระสงฆ์กับการรู้เท่าทันสังคม. (2540). พระรัตนตรัยกับสังคม พุทธศาสนากับเครื่องมือการเรียนรู้ที่ทรงพลัง ความเป็นอนิจจังของสังคม มหาปาณาติบาทมหาอทินนาทาน มหากาเมสุมิจฉาจาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.
พระสุภาพ สุภาโว. (2561). บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน กรณีศึกษาตำบลยางค้อม อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ส่งศรี ชมพูวงศ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช.
สำนักงานเจ้าคณะอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. (2563). บัญชีรายชื่อพระภิกษุสามเณร ประจำปี 2563. ร้อยเอ็ด : สำนักงานเจ้าคณะอำเภอเสลภูมิ.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2554). คู่มือการพัฒนาวัดสู่ความเป็นมาตรฐาน. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์สนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
William. (1976). Participation Management: Concept. Theory and Implementation. Atlanta G. : Georgia State University.