การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

THE DEVELOPMENT OF THE OBEC MORAL SHOOL OPERATING MODEL OF KUSUMAN WITTAYAKHOM SCHOOL THE SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE SAKON NAKHON

  • ยุพิน อินธิแสง โรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม 2)เพื่อพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม 4)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุณค่า และความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคมการดำเนินการโดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพัฒนาเครื่องมือการวิจัย ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหาร ครูและนักเรียนโรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม จำนวน 123 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจงวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80–1.00 มีค่าความเชื่อมั่น โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ระหว่าง 0.85–0.97


           ผลการวิจัยพบว่า 1)สภาพปัญหาการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม ภาพรวมมีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง 2)ผลการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ สร้างผู้นำ กิจกรรมช่วยขับเคลื่อน ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและประเมินผลเพื่อพัฒนา ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบอยู่ในระดับมาก 3)ผลการทดลองใช้รูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคมอยู่ในระดับมากที่สุด 4)ผลการศึกษาประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุณค่า และความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). หลักสูตรพัฒนาผู้นําการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอํานาจสําหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. นครปฐม : สถาบันพัฒนาครูคณาจารยและบุคลากรทางการศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพในฐานะที่เป็นยุทธศาสตร์ระดับพลเมืองเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ. แปลแบบถอดความจาก Health literacy as a population strategy for health Promotion: Don NUTBEAM. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2562.จาก http://122.154.73.26/data/HL/HLAsPopulationStrategyThai.pdf

ชุติมา รักษ์บางแหลม (2559). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมหนทางสู่การขับเคลื่อนภาวะผู้นำในสถาบันการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 8(1). 173-174.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2559). บริหารคนบนคุณค่า (Value)ดีกว่าบริหารคนบนหน้าที่ (Responsibility). สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. จาก http://narongwits.com/value-responsibility/

โนรอายดา มามะ,วุฒิชัย เนียมเทศ, และเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2561). การดำเนินงานตามกระบวนการการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรมในโครงการกองทุนการศึกษารุ่นที่3 (ภาคใต้). วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 29(3). 137-147.

ประไพรัตน์ ลำใจ. (2557). รูปแบบการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนระดับมัธยมศึกษา.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. พะเยา : มหาวิทยาลัยพะเยา.

พรพิลาศ สุนทรหงศ์. (2560). ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินของกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11(2). 368-379.
พระครูโสภณภัทรเวทย์ (อิทธิพล ปธานิโก). (2563). รูปแบบการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมของนักเรียนสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์. 7(1). 15-26.

พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ. (2562). รูปแบบการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับวัยรุ่นไทยยุคใหม่ตามหลักพุทธธรรม ผ่านกลไกการขับเคลื่อนโครงการคลินิกคุณธรรมของพระธรรมวิทยากร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 8(1). 59-70.

พัชรี ปิยภัณฑ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

มกราพันธ์ จูฑะรสก และศุกร์ใจ เจริญสุข. (2562). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในองค์กร. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 19(4). 179-197.

มานพ เกิดเมฆ. (2558). บางมูลนากโมเดล. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. จากhttp:// www.trueplookpanya.com

มูลนิธิยวุสถิรคุณ ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม. (2558). คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม. กรุงเทพฯ : บริษัทสหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง จำกัด.

ลำพรวน บัวเผียน, สุนทรี ดวงทิพย์, และรัชนีกร นิธากร. (2563). รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(10). 315-332.

ศราวุธ สุขจินดา. (2562). องค์ประกอบสมรรถนะที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. Viridian E-Journal Silpakorn University. 11(2). 1105-1120.

ศักดิ์ สีสัน พรชัย หนูแก้ว และจิรวรรณ นาคพัฒน์. (2561). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านห้วยเสือ อำเภอทองผาภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 16(3). 75-82.

ศิริญญา ศรีคำ. (2562). SQ4R กับการพัฒนาการอ่านเพื่อจับใจความ. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 7. 30-31 มีนาคม 2562. 673-680.

สมปอง ใจดีเฉยและคณะ (2557). การสังเคราะห์องค์ความรู้กระบวนการสร้างโรงเรียนต้นแบบด้านคุณธรรม จริยธรรม (บางมูลนากโมเดล). กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุภรณ์ ยิ่งวรการ. (2557). นานาสาระ: ภารกิจการส่งเสริมจิตสำนึกด้านคุณธรรม. วารสารเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับผู้ตรวจการแผ่นดิน. 7(2). 124-128.

สุมาลี ผาสุข. (2564). การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมสพฐ. ของโรงเรียนบ้านตรอกสะเดา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

เสกสิทธิ์ ทองมาก. (2560). การวัดความพึงพอใจของผู้ใช้บริการศูนย์ยื่นวีซ่าประเทศอิตาลีด้วยตัวแบบคุณภาพการบริการ. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 “Local&Global Sustainability: Meeting the Challenges & Sharing the Solutions”. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 21 มีนาคม 2560. 421-432.

เสาวนารถ เล็กเลอสินธุ์. (2561). ประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 12(28). 187-196.

อมรัตน์ วงศ์ศรียา. (2562). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ: กรณีโรงเรียนบ้านนาแมด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สกลนค : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เอกภพ พวงประดิษฐ. (2561). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของโรงพยาบาลพะเยาต่อการจ้างงานภายนอก. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่. 3(1). 103-118.
Published
2022-12-01
How to Cite
อินธิแสง, ยุพิน. การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 702-716, dec. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2063>. Date accessed: 05 may 2024.
Section
Research Article