ประสิทธิภาพการดำเนินงานตามมาตรการ WORK FROM HOME (WFH) ในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
EFFICIENCY OF OPERATIONS ACCORDING TO WORK FROM HOME (WFH.) MEASURES IN EPIDEMIC SITUATIONS OF THE COVID-19 VIRUS OF THE KHON KAEN PROVINCIAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานตามมาตรการ Work From Home (WFH) ในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 2)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดำเนินงานตามมาตรการ Work From Home (WFH) ในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพอาชีพ และประสบการณ์ทำงาน 3)เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรการ Work From Home ในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 255 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานตามมาตรการ Work From Home ในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าความต้องการเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยภาพของบุคลากร 1)การทำงานที่บ้านส่งผลดีในการปฏิบัติงานเชิงคุณภาพ 2)ผู้ปฏิบัติงานได้ทำงานอย่างอิสระไม่อยู่ในข้อจำกัดของเวลาการทำงานในเวลาราชการ 3)สร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากร 4)ประหยัดค่าใช้จ่ายประหยัดเวลา ประหยัดค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทาง 5)สร้างความอบอุ่นให้กับครอบครัว และ 6)ปลอดภัยจากความเสี่ยงต่อการติดโรคไวรัส COVID-19 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย 2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพการดำเนินงานตามมาตรการ Work From Home ในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมและรายด้านบุคลากร มีความต้องการไม่แตกต่างกันทั้ง 3 ด้าน และจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษาตามสถานภาพอาชีพ และ จำแนกตามประสบการณ์ทำงานโดยภาพรวมและรายด้านบุคลากรของมีความต้องการปฏิบัติงานตามมาตรการ Work From Home (WFH.) ในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้ง 3 ด้าน 3. ผลการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรการ Work From Home ในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19จำนวน 3 ด้าน โดยบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ได้เสนอแนวทางพัฒนา ดังนี้ 1)ด้านความต้องการดำรงอยู่ควรมีมาตรการเพิ่มการดูแลด้านสาธารณสุขแก่พนักงานในยามปกติและในช่วงแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เพื่อให้เป็นสวัสดิการแก่พนักงาน 2)ด้านความต้องการความสัมพันธ์กับคนอื่นรัฐควรพิจารณาใช้มาตรการทำงานให้พนักงานของรัฐใช้เวลาในการปฏิบัติทำงาน Work From Home ตามความเหมาะสม และมีมาตรการควบคุมเวลาการทำงาน Work From Home ให้กับพนักงาน โดยกำหนดให้มีเครื่องมือสื่อสาร ติดต่อประสานงาน และมีการรายงานอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยให้การทำงานของบุคลากรมีประสิทธิภาพมากที่สุด และ 3)ด้านความต้องการความก้าวหน้ารัฐควรคำนึงถึงเงินค่าตอบแทน ให้แก่พนักงานที่ไม่ใช่ ข้าราชการ ซึ่งเมื่อมีการทำงาน Work From Home ที่บ้าน นั่นคือไม่มีรายได้ ไม่มีเงินตอบแทนให้จะทำให้ครอบครัวเดือดร้อน
References
เจนจิราพร รอนไพริน. (2558). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ธนธัส ทัพมงคล วรินทร์ จงมีสุข และสุกฤษฎิ์ ลิมโพธิ์ทอง. (2562). ความพึงพอใจและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทภายหลังการรวมกิจการ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 6(2). 88-96.
นิชานันท์ รัตนพงษ์เพียร. (2563). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในกรมชลประทาน (สามเสน). คณะบริหารธุรกิจ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2547). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี จำกัด.
พรภัทร์ รุ่งมงคลทรัพย์. (2556). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอบีบี จำกัด.การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สำหรับนักบริหาร. วิทยาลัยบัณฑิตศึกษา ด้านการจัดการ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พิพัฒน์ มีเถื่อน. (2562). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ฮันนี่ เวลล์ อิเล็คทรอนิค แมธิเรียลส์ (ประเทศไทย) จำกัด. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจ : มหาวิทยาลัยเกริก.
อำนวย สังข์ช่วย. (2563). การบริหารจัดการอย่างยั่งยืนของประชาชนเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าภู ถ้ำภูกระแต อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 18(1). 36-48.
Alderfer. (1969). An empirical test of a new theory of human needs. Organizational Behavior and Human Performance. 4(2). 142-175.