รูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น

A MODEL EFFECTIVE MANAGEMENT OF BASIC EDUCATION INSTITUTIONS UNDER THE KHONKAEN PROVINCIAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION

  • สำเร็จ คำโมง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ณัฐพงษ์ ขจรแสงเจริญ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในจังหวัดขอนแก่น 2)เพื่อนำเสนอรูปแบบ  การบริหารที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู พนักงานราชการ และกรรมการสถานศึกษา จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


             ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารโรงเรียน อยู่ในระดับดีมาก ในด้านวิชาการมีการพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นทั้งผลสัมฤทธิ์ ในด้านงบประมาณมีการจัดสรรอย่างเหมาะสม มุ่งเน้นผลงาน บริหารอย่างเป็นธรรม ด้านการบริหารงานบุคคลก็มีความเหมาะสมและยุติธรรม ทั้งในด้านการจัดอัตรากำลังการกำหนดตำแหน่งหน้าที่ ในด้านการบริหารทั่วไป มีการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. รูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 4 องค์ประกอบหลัก คือ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป และ 17 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1)การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน 2)การจัดกระบวนการเรียนรู้ 3)การวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน 4)การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 5)การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 6)การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ 7)การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 8)การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ 9)การวางแผนงบประมาณ 10)การกำหนดผลผลิตและการคำนวณต้นทุน 11)การวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่ง 12)การสรรหาบรรจุและแต่งตั้ง 13)การคัดเลือกบุคลากร 14)การพัฒนาบุคลากร 15)การจัดสวัสดิการให้นักเรียน 16)การดำเนินการจัดระเบียบวินัย และ 17)เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนดำรงชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

References

กระทรวงมหาดไทย. (2546). พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6). กรุงเทพฯ : เสมาทอง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

จินตนา ตรงประสิทธิ์. (2560). การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. (2552). ความพยายามในการถ่ายโอนสถานศึกษาไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.). กรุงเทพฯ : บรรณกิจเทรดดิ้ง.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2552). บริการประชาชน-ทำได้ไม่ยาก(ถ้าอยากทำ). กรุงเทพฯ : กราฟิคฟอร์แมท.

สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน. (2547). คุณลักษณะและวิธีการเรีนนรู้ของเยาวชนรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

เสาวลักษณ์ พรหมจันทร์ และจรัส อติวิทยาภรณ์. (2560). ประสิทธิผลการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 20 กรกฎาคม 2561. 1123-1139.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. (2564). รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. ขอนแก่น : องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น.
Published
2022-07-27
How to Cite
คำโมง, สำเร็จ; ขจรแสงเจริญ, ณัฐพงษ์. รูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 541-550, july 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1956>. Date accessed: 03 jan. 2025.
Section
Research Article