ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น
THE FACTORS AFFECTING THE CREATIVE LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE OFFICE OF KHONKHEAN PRIVATE SCHOOLS PROMOTION COMMISSION
Abstract
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาโครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น 2)เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำ เชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น 3)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง ทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวนทั้งสิ้น 480 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลโดยใช้โปรแกรม AMOS
ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาโมเดลโครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำ เชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดขอนแก่นประกอบด้วย มีตัวแปรสังเกตได้รวม 18 ตัวแปร ตัวแปรแฝง รวม 5 ตัวแปรรวมตัวแปรทั้งสิ้น 23 ตัวแปร 2. การตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำ เชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า มีค่าความน่าจะเป็น(p-value) เท่ากับ .126 ไค–สแควร์หารด้วยองค์ศาอิสระ(1.168) ดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อน(RMSEA = 0.019) ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืน(GFI) และดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว(AGFI) (GFI=0.977, AGFI=0.954) 3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ คือ การเป็นแบบอย่างที่ดี ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อม คือบรรยากาศองค์การและปัจจัยที่มีอิทธิพลรวม คือ การเป็นแบบอย่างที่ดี ความคิดสร้างสรรค์การสื่อสาร
References
ภารดี อนันต์นาวี. (2545). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา : กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : หจก.ทิพยวิสุทธิ์.
ศุภมาส อังศุโชติ และคณะ. (2551). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ : มิสชั่นมัลติมีเดีย จำกัด.
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2555). ผู้บริหารกับการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุนิสา เนาวรัตน์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.
Hamel, G., & Prahalad, C. K. (2012). Competing for the future. Boston, MA: Harvard Business School Press.
Heifetz, Grashow, and Linsky. (2009). Leadership in a (Permanent) Crisis. Boston, MA : Harvard Business Review.
Hoy,W.K,&,C.G. Miskel. (2005). Educational Administration: Theory, Research and Practice. 7th ed. New York : McGraw-Hill.
Taylor, Frederick W. (2002). The Principles of Scientific Management. New York : Harper.