ความได้เปรียบด้านการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดปทุมธานี

COMPETITIVE ADVANTAGE OF COMMUNITY ENTERPRISE, PATHUM THANI PROVINCE

  • ภัทรพล ชุ่มมี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบด้านความได้เปรียบด้านการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดปทุมธานี โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี จำนวนทั้งสิ้น 324 ราย กำหนดใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์องค์ประกอบผลการทดสอบความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.50-1.00


            ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจมีความสอดคล้องกับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน มีค่าดัชนีวัดความสอดคล้องที่ Chi-square=5.76, df=3, P-value=0.010, RMSEA=0.000 สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ข้อเสนอแนะในการวิจัย ระดับผู้ประกอบการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละช่วงวัย พัฒนาส่วนประสมทางการตลาดใหม่ที่เหมาะสมกับผู้บริโภคที่ป่วย และช่วยลดปัญหาสุขภาพต่างๆ ระดับชุมชน ให้พัฒนากำลังการผลิตที่แตกต่างกันในแต่ละชุมชน เน้นการผลิตที่แตกต่างกันในแต่ละชุมชน เน้นให้คนในชุมชนรวมตัวกันเพื่อผลิตเพื่อลดการย้ายถิ่นฐานสามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน และระดับการกำหนดนโยบาย สำหรับการกำหนดนโยบายในการเปิดคู่ค้ารายใหม่ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสร้างผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างอย่างชัดเจน ส่งเสริมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถขายและเพิ่มมูลค่าเพิ่มได้องค์ความรู้จากการวิจัยการบริหารต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้โดยส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและดอกเบี้ยที่ต่ำ สร้างความแตกต่างในสินค้าและบริการ และตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อผู้บริโภคผ่านสื่อสังคมออนไลน์

References

กรธวัฒน์ สกลคฤหเดช และคณะ. (2560). โมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของความสามารถเชิงพลวัต ความได้เปรียบทางการแข่งขันและความสำเร็จของธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2564. จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php /BECJournal/article/view/91656/71899

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

จรินทร์ จารุเสน และธันย์นิชา วิโรจน์รุจน์. (2565). การบริหารช่องทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าบนอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคอตตอนดีไซน์ จ.ปทุมธานี. วารสารศิลปการจัดการ. 6(1). 160-174.

ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน. (2564). ข้อมูลวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2564. จากhttp://smce.doae.go.th/smce1/report/report_tvc2_list.php

วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล. (2563). วิเคราะห์องค์ประกอบความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจเอกชนในจังหวัดสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 12(2). 83-96.

อัจฉรา เมฆสุวรรณ. (2560). ความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อยประเภทอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 12(พิเศษ). 13-26.

Hair, J. F., Anderson, R. E., Talham, R. L., & Black, W. C. (1998). Multivariate data analysis. 5th ed. Upper Saddle River, NJ : Prentice-Hall.

Hoyle, R. H., & Kenny, D. A. (1999). Statistical power and tests of mediation. In R. H. Hoyle (Ed.), Statistical strategies for small sample research. Newbury Park : Sage.

Kline, R. B. (2011). Principles and practice of structural equation modeling. 3rd ed. New York, NY : The Guilford Press.

Lestari, Setyani Dwi. et. al. (2020). Antecedents and Consequences of Innovation and Business Strategy on Performance and Competitive Advantage of SMEs. Retrieved 17 July 2021. From https://www.koreascience.or.kr/article/ JAKO202017764018182.pdf

Ngansathil, Wichitra. (2001). Market Orientation and Business Performance: Empirical Evidence from Thailand. Ph.D. Dissertation. The University of Merbourne.

Nguyen, Hong T. (2000). The Determinants and Decision Making Process of Export Marketing Activities in Small and Medium Sized Manufacturing Firms in Germany. DBA. Dissertation. Nova Southern University.
Published
2022-07-06
How to Cite
ชุ่มมี, ภัทรพล. ความได้เปรียบด้านการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดปทุมธานี. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 507-517, july 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1945>. Date accessed: 24 nov. 2024.
Section
Research Article