คุณภาพชีวิตทางสังคมตามหลักธรรมของสายใยแห่งชีวิต
SOCIAL QUALITY OF LIFE ACCORD TO PRINCIPLES ON LIFE LINE
Abstract
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ตามหลักธรรมของชีวิตที่เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสืบสานความเป็นไทยไว้จนถึงทุกวันนี้ และมิใช่เป็นเพียงการทำหน้าที่ในการกำหนดรูปแบบของการดำรงชีวิต และการดำเนินชีวิตของคนไทยทั้งหลาย เท่านั้น หากแต่ยังทำหน้าที่ชี้ทางว่าสิ่งใดควรกระทำและสิ่งใดไม่ควรกระทำ รวมไปจนถึงการประกาศความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของคนไทยให้ชาวโลกได้ประจักษ์ โดยทำหน้าที่หมุนเวียนให้การดำเนินชีวิตของคนไทย คงอยู่ต่อไปไม่มีการสูญสลาย ทั้งยังช่วยในการแก้ปัญหาความไม่สมดุลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือการปกครอง ตลอดจนทำหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ระหว่างสิ่งต่างๆ เพื่อความลงตัวระหว่างวัฒนธรรม จากที่กล่าวมานี้จะเป็นได้ว่า วัฒนธรรมไทยมีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง โดยรับฐานความคิดและแนวปฏิบัติมาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ จนกลายเป็นดุจสายเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตให้เติบโตอย่างมีคุณค่า เพราะมีปัญญาเป็นตัวกำกับ ตามหลักแห่งไตรสิกขา
References
ซิมเมอร์คาร์ล. (2552). กำเนิดเผ่าพันธุ์มนุษย์ แปลโดยอรรคพัฐ โกสิยตระกูล. กรุงเทพฯ : เนชั่นแนลจีโอก.
ประเวศ วะสี. (2544). สปรส. กับ “สุขภาวะทางจิตวิญญาณ”. มติชนรายวัน(24 กรกฎาคม 2544).
พยับแดด. (2526). หยุดโลก: บทเรียนจากดอนฮวน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กอไผ่.
พระเทพดิลก. (2551). อธิบายหลักธรรมตามหมวดจากนวโกวาท. กรุงเทพฯ : วัดบวรนิเวศวิหาร.
พระธรรมปิฎก. (2546). คำว่า “จิตวิญญาณ”. ในร่าง พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติมีผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาในประเทศไทยอย่างไร. กรุงเทพฯ : เครือข่ายองค์กรพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย.