คีตกรรมอีสาน : มรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การสร้างสรรค์ นาฏศิลป์พื้นเมืองอีสาน

KHI TA KAM I-SAN: HERITAGE OF LOCAL WISDOM LEADING TO THE CREATION OF I-SAN FOLK DANCESIN THE ISAN TRADITION

  • ชัยนาทร์ มาเพ็ชร วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Abstract

            การวิจัยเรื่อง คีตกรรมอีสาน : มรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นเมืองอีสาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาคีตกรรมอีสานในด้านความเป็นมา และลักษณะสำคัญ ความหมายและคุณค่าทางสังคมของคีตกรรมอีสาน การสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นเมืองจากคีตกรรมอีสาน โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ด้วยการสำรวจ สังเกต สัมภาษณ์ผู้รู้ จำนวน 7 คน ผู้ปฏิบัติ จำนวน 5 คน จากเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์


             ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเป็นมาประเภทและลักษณะสำคัญคีตกรรมประเภทผญาและหมอลำเป็นการใช้บทกลอนที่มีความสัมพันธ์กับวรรณคดีพื้นเมือง สิ่งสำคัญคือการใช้ภาษา มีสัมผัสคล้องจองของเสียงและทำนอง ผญาแบ่งได้เป็นหมวดหมู่ คือ 1)ผญาย่อย 2)ผญาเกี้ยว 3)ผญาภาษิต 4)ผญาปรัชญาชีวิต ส่วนหมอลำเป็นการประพันธ์เป็นร้อยแก้ว เนื้อหาของกลอนลำสอดแทรกคำกลอนที่เป็นสุภาษิต คำคม หมอลำแบ่งได้สองประเภทคือ ประเภทลักษณ์ละคร ประเภทไม่เป็นลักษณ์ละคร 2. ความหมายคุณค่าทางสังคมของคีตกรรมอีสาน ผญามีลักษณะเด่น 2 ประการ คือ เป็นคำพูดหลักแหลมได้สาระแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของผู้พูดและเป็นคำพูดที่ใช้ภาษาได้ไพเราะงดงามมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ หมอลำมีบทบาทในสังคมอีสานในฐานะมหรสพที่ให้ความบันเทิงและสะท้อนให้เห็นประเพณีวัฒนธรรมชุมชนในท้องถิ่น 3. การสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นเมืองจากคีตกรรมอีสานควรคำนึงถึง   สิ่งต่อไปนี้ 1)การตีความหมายจากกลอนลำ 2)ทำความเข้าใจกับการตีบท 3)การเลือกทำนองและลายเพลงให้เหมาะสมกับชุดการแสดง 4)การเคลื่อนไหวร่างกาย 5)การฟ้อนอีสานต้องมีความสัมพันธ์กลมกลืน ซึ่งคุณค่าของคีตกรรมอีสาน สะท้อนให้เห็นการยึดโยงของคีตกรรมกับชีวิตของผู้คนการนำคีตกรรมมาสร้างสรรค์นาฏกรรม จึงเป็นการสืบสานวัฒนธรรมที่เป็นภูมิปัญญาให้คงอยู่

References

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2530). ภูมิปัญญาแห่งอีสาน รวมบทความอีสานคดีศึกษา. มหาสารคาม : ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2543). ดนตรีและการละเล่นพื้นบ้านอีสาน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2547). เคล็ดลับการสร้างสรรค์ทำนองลำ. การประชุมสัมมนาทางวิชาการ ครั้งที่ 5. วันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2547. ณ อาคารภูมิพลสังคีตวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม.

ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ. (2532). ศิลปะการฟ้อนอีสาน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

พรชัย เขียวสาคู. (2535). ลำเพลินบ้านแพง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2531). พจนานุกรมเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.2530. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สมเด็จพระมหาวีรวงศ. (2515). พจนานุกรมภาคอีสาน-ภาคกลาง ฉบับปณิธาน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

Guilford&Hoepfner, R. (1997). The analysis of intelligence. New York : McGraw-Hill.
Published
2022-06-21
How to Cite
มาเพ็ชร, ชัยนาทร์. คีตกรรมอีสาน : มรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การสร้างสรรค์ นาฏศิลป์พื้นเมืองอีสาน. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 421-435, june 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1935>. Date accessed: 22 nov. 2024.
Section
Research Article