รูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

THE MODEL FOR OPERATION OF STUDENT CARE AND SUPPORT SYSTEM

  • สุทิน ทองดวง โรงเรียนชุมชนหนองเลาเหล่าอีหมัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการ และแนวทางของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2)เพื่อสร้างรูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 4)เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนชุมชนหนองเลาเหล่าอีหมัน จำนวน 7 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน 10 คน ครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 7 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 74 คน ของโรงเรียนชุมชนหนองเลาเหล่าอีหมัน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนชุมชนหนองเลาเหล่าอีหมัน จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบัน ความต้องการ และแนวทางของการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาพรวม สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ความต้องการในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนแนวทางที่ควรจัดในโรงเรียนต้องเป็นแนวทางที่สามารถส่งเสริม พัฒนา  การป้องกัน และแก้ไขปัญหาเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ 2. รูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนการดำเนินงาน(Plan) ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติตามแผน(Do) ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบและวัดผล(Check) ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงการดำเนินงาน(Action) 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีดังนี้1)ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้รูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนชุมชนหนองเลาเหล่าอีหมัน มีการปฏิบัติ/เห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด 2)ความพึงพอใจเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของนักเรียนโรงเรียนชุมชนหนองเลาเหล่าอีหมัน อยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโรงเรียนชุมชนหนองเลาเหล่าอีหมัน มีระดับความคิดเห็นเห็นด้วยกับรูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กำไรเงิน ถิ่นมีผล. (2561). การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาคลองใหญ่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

บันลือ ยุบลมาตย์. (2547). การพัฒนาการดำเนินงานในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคลโรงเรียนอนุกูลนารี อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริชัย รินทะราช. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิงแวดล้อมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมิหลา สอนโพธิ์. (2562). การพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าค้อ (ชุณห์ประสาทศิลป์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ.2561-2564. กรุงเทพฯ : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ของโรงเรียนชุมชนบ้านหนองเลาเหล่าอีหมัน. กรุงเทพฯ : สมศ.

สุทัศน์ เดชกุญชร. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการงานแนะแนวการศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับสถานศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

เสมอ หาริวร. (2546). การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกรวดวิทยาคาร อำเภอบ้านกรวด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุไร ปัญญาสิทธิ์. (2560). รูปแบบการเสริมพลังเพื่อการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Blum, Michael Howard. (1977).The Preserve Teacher’s Educational Training in Classroom Discipline : A National Survey of Teacher Education Program. Dissertation Abstracts International. 55(8). 2348-A.

Hill, Raymond Stephen. (1996). Parent and Teacher Perception of Discipline Problems and Solutions in Small, Urban, Western Piedmont North Carolina High School (Urban Education). Dissertation Abstracts International. 54(8). 1824-A.

Joyce D. and R. Well. (1985). Research and Development. Boston : John Willey.

Keeves, P. J. (1988). Educational Research, Methodology and Measurement : An International Handbook. Oxford : Pergamon Press.

Lares, John Stephen. (1999). Total Quality Management as Means to Improve the Process of Student Discipline. Dissertation Abstracts International. 56(5). 4603-A.
Published
2022-06-23
How to Cite
ทองดวง, สุทิน. รูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 367-380, june 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1930>. Date accessed: 24 nov. 2024.
Section
Research Article