รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
THE MODEL FOR LEARNING RESOURCES UTILIZATION IN DEVELOPMENT LEARNING AND TEACHING
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 2)เพื่อสร้างรูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และ 4)เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนใช้การวิจัยและพัฒนากำหนด กลุ่มเป้าหมายเป็นการกำหนดตามความสอดคล้องกับกระบวนการของการวิจัย ดังนี้ 1)กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการต้องการพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ได้แก่ครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนชุมชนบ้านยางสีสุราช จำนวน 7 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 7 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 143 คน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนชุมชนบ้านยางสีสุราช จำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง ความต้องการในการพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด 2. รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน(P=planning) ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาแหล่งเรียนรู้(D=development) ขั้นตอนที่ 3 การจัดการเรียนรู้(I=instructional) ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผล(E=evaluate) 3. รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนโดยภาพรวมมีการปฏิบัติ/เห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด และการสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับรูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ทั้งนี้ เนื่องจากรูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนมีความหลากหลาย มีความเหมาะสมกับนักเรียน และสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ นอกจากนี้ครูก็มีแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับนักเรียน 4. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาโดยภาพรวมเห็นด้วยกับรูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุดที่เป็นเช่นนี้เพราะการพัฒนารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มีขั้นตอนการพัฒนารูปแบบที่ชัดเจน มีรูปแบบการดำเนินการที่สอดคล้องการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักการของการเรียนรู้
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว).
กิ่งแก้ว อารีรักษ์. (2548). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบหลากหลาย. กรุงเทพฯ : อัลฟ่ามิเล็นเนียม.
ชนิดา วิสะมิตนันท์. (2541). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน. สงขลา : หน่วยศึกษานิเทศก์กระทรวงศึกษาศึกษาธิการ.
ดิเรก พรสีมา. (2543). ปฏิรูปการศึกษาไทยทำอย่างไร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ส.รุ่งทิพย์ออฟเซ็ท.
ประสิทธิ์ แก้วบ่อ. (2550). การดำเนินงานเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านเกี๊ยงโนนสว่างอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประสิทธิ์ พิทักษ์คชวงค.์ (2554). การจัดการแหล่งเรียนรู้ชุมชนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พยุง ใบแย้ม. (2558). การพัฒนารูปแบบการใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นที่เหมาะสมเพื่อการ จัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2559). จะยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของกรุงเทพมหานครได้อย่างไร. กรุงเทพฯ : แม็คเอ็ดดูเคชั่น.
ศิริกาญจน์ โกสุมภ์ และดารณี คำวัจนัง. (2546). สอนเด็กให้คิดเป็น. กรุงเทพฯ : ปกรณ์ศิลป์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). เอกสารการพัฒนาระบบการนิเทศการศึกษา โครงการนิเทศติดตามผลปีงบประมาณ 2543 นิเทศปริทัศน์การพัฒนาการนิเทศตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : ศรีเมืองการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). นโยบายการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ภาคพิมพ์.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2554).รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ของโรงเรียนชุมชนบ้านยางสีสุราช. กรุงเทพฯ : สมศ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สุพล ฉุนแสนดี. (2552). การสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2560. จาก https://sites.google.com/site/supoldee/supoldee/surinthr-run-4-1
Indriyanto, B. (1993). The relative contribution of home and community resources to primary student achievement in Indonesia. Ed.D. Dissertation. State University of New York at Albany.
Mullins, L J. (1999). Management and organizational behavior. 5th ed. London : Financial Times /Pitman.