ปัจจัยที่มีผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษา สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น
FACTORS AFFECTING THE ANXIETY OF SPEAKING ENGLISH OF STUDENTS IN ENGLISH FOR COMMUNICATION PROGRAM, NORTHEASTERN UNIVERSITY, KHON KAEN PROVINCE
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3)เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ นักศึกษาจำนวน 30 คน อาจารย์ผู้สอน 8 คน ใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยที่มีผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านผู้เรียน ด้านชั้นเรียน ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบเท่ากับ .205 และ .200 ตามลำดับ 3. แนวทางการพัฒนาการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำเป็นต้องฝึกการเขียนภาษาอังกฤษโดยการจดบันทึกผ่านกิจวัตรประจำวันต่างๆ โดยทดลองฝึกบันทึกไดอารี่เพื่อความคุ้นชินกับการเขียนภาษา และวาดภาพและเขียนอธิบายเรื่องราวตามจินตนาการ และการสอดแทรกทางด้านการพูดให้สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านไวยากรณ์หรือโครงสร้างเพื่อให้รู้ด้านสังคม เช่นการใช้คำและการสร้างประโยค อีกทั้งรู้ในการใช้โครงสร่งเพื่อสื่อความหมาย ส่วนในการติดต่อสื่อสารจำเป็นอย่างมากในการใช้กลวิธีในการสื่อสารและต้องใช้ความพยายามที่จะเรียนรู้ฝึกฝนการติดต่อสื่อสารที่บ่งบอกถึงการนำไปสู่การพัฒนาทักษะการติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับความเป็นบัณฑิตในยุคปัจจุบัน
References
ณัฐวราพร เปลี่ยนปราณ และคณะ. (2558). การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมประกอบการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
วราภรณ์ พรมอินทร์. (2561). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ Collaborative strategic reading. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน.คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.
วราภรณ์ วราธิพร. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น.วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี.
Karlsson, A. (2012). Storytelling as a Teaching Strategy in the English Language Classroom in Iceland. Dissertation Faculty of Teacher Education. University of Iceland School of Education.
Wattanavitukul, Piset. (2006). Spoken English: Why 99% of Thai and Chinese Failed in Learning Oral English. Retrieved 28 August 2006. From http://www. apmforun. com/columns/china.24.htm