กลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3
COMMUNITY PARTICIPATORY MANAGEMENT STRATEGIES FOR SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF KHONKAEN PRIMARY EDUCATION AREA 3
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 2)เพื่อกำหนดกลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูจำนวน 278 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาสภาพแวดล้อม ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการตรวจสอบยืนยันและประเมินกลยุทธ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้วยค่าดัชนี PNImodified.
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. กลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ 1)กลยุทธ์วางแผนร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ 2)กลยุทธ์ส่งเสริมการตัดสินใจร่วมกัน 3)กลยุทธ์พัฒนาการดำเนินงานร่วมกัน 4)กลยุทธ์ติดตามประเมินผลร่วมกันอย่างมีคุณภาพ และการประเมินกลยุทธ์ ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
References
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553). คู่มือฝึกอบรมครูแนะแนว. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยยุทธ บุญเติม. (2564).แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา อำเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชินภัทร ภูมิรัตน. (2555). การศึกษากับความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป : ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ์.
ธีรกุล พงษ์จงมิตร. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สรรเพชญ โทวิชา. (2562). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สาวิณี รอดสิน. (2554). ชุมชนเข้มแข็ง : กรณีศึกษาชุมชนชุมชนบ้านปางจำปี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปกร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2563-2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3.ขอนแก่น : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2558). หลักการ ทฤษฎีและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุภีร์ สีพาย. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
หวน พินธุพันธ์. (2554). นักบริหารมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.