การพัฒนาแนวทางการสร้างทีมงานครู สำหรับสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3
DEVELOPING GUIDELINES FOR BUILDING A TEAM OF TEACHERS FOR EDUCATIONAL INSTITUTIONS IN UNDER THE OFFICE OF CHAIYAPHUM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 3
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์)เพื่อศึกษาองค์ประกอบการสร้างทีมงานครูและกระบวนการ สร้างทีมงานครู สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 2)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 3)เพื่อพัฒนาแนวทางการสร้างทีมครู สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้บริหารและครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบการสร้างทีมงานครูและกระบวนการสร้างทีมงานครู สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 จากผู้ทรงคุณวุฒิได้องค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ คือ 1)บทบาทที่สมดุล 2)ความชัดเจนของเป้าหมาย 3)การติดต่อสื่อสารที่ดีและการเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหา 4)ความร่วมมือและการสนับสนุนไว้วางใจต่อกัน 5)กระบวนการทำงาน การตัดสินใจที่ถูกต้องของผู้นำ 6)การทบทวนพัฒนาและประเมินผลงานอย่างสม่ำเสมอ และกระบวนการสร้างทีมได้ 5 กระบวนการ 1)การกำหนดปัญหา 2)การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล 3)การวางแผนเพื่อแก้ปัญหา 4)การนำแผนไปปฏิบัติ 5)การประเมินผลการดำเนินงาน 2. สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์การสร้างทีมครู สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 อยู่ในระดับมากที่สุด 3. แนวทางการสร้างทีมครู สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 จากผู้ทรงคุณวุฒิโดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทุกด้านมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านเช่นเดียวกัน
References
จิราภรณ์ เอมเอี่ยม. (2552). การพัฒนารูปแบบการสร้างทีมงานครูในสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มณีรัตนา โนนหัวรอ. (2557). การพัฒนารูปแบบการประเมินเสริมพลังอำนาจเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาของครูประจำการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการทดสอบและวัดผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ลดาวัลย์ พุทธวัชร. (2560). การพัฒนาแนวทางการสร้างทีมครู สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรรณวิมล อัมรินทร์นุเคราะห์. (2551). การบริหารงานพัสดุ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการบริหารทั่วไปคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สงวนช้างฉัตร. (2542). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทีมงานที่มีผลกระทบต่อประสิทธิผลในการดำเนินธุรกิจขนาดย่อม. พิษณุโลก : คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม.
สุภาพ กันสการ. (2552). พฤติกรรมการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอโคกสูงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุรศักดิ์ ศรณรินทร์. (2546). การสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามทรรศนะของผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
โสภณ หลอดแก้ว. (2555). การสร้างทีมงานของครูโรงเรียนเทศบาล 1 (สภาวร) สังกัดเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
อนุสิทธิ์ พิเชฏฐ์ชัย. (2556). ทักษะการสร้างทีมงานในสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
Bush, T., Middlewood, D., Morrison, M. & Scott, D. (2005). Assessing the impact of leadership team programmes on school outcomes: interim report. Nottingham : NCSL.
Covin, T.J. & Kilmann, R.H. (1989). A Profile of Large Scale Change Programs. Dennis F.R.ed. : Southern Mangement Proceeding.
French, Wendell L. & Cecil H. Bell. (1984). Organization Development: Behavioral Science Interventions for Organization Improvement. New Jersey : Prentice-Hall.