การใช้สื่อออนไลน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาการปกครองท้องถิ่น ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

THE USE OF ONLINE MEDIA IN THE DEVELOPMENT OF TEACHING AND LEARNING IN LOCAL ADMINISTRATION FOR 3rd YEAR STUDENTS IN THE DEPARTMENTS IN THE DEPARTMENT OF GOVERNANCE MAHAMAKUY BUDDHIST UNIVERSITY ROI ET CAMPUS

  • พระครูปลัด ทองใบ สุปภาโส(ปะพะลา) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • จุรี สายจันเจียม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • อดิศักดิ์ ทุมอนันต์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 2)เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 3)เพื่อเสนอแนะการใช้สื่อออนไลน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาเขตร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด จำนวน 80 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ การทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว


            ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. การเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาการปกครองท้องถิ่นของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด นักเรียนที่มีสถานะ อายุ ลักษณะที่พักอาศัย มีพฤติกรรม การใช้สื่อออนไลน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาการปกครองท้องถิ่น โดยรวมทั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้สื่อออนไลน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาการปกครองท้องถิ่นของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัย     มหามกุฏราชวิทยาลัย ลำดับตามจากมากไปหาน้อย คือ  ควรสืบค้นหา ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้มากกว่านี้เพื่อสะดวกและพัฒนาต่อการเรียนการสอนควรเอาใจใส่ในการใช้สื่อออนไลน์และการพัฒนาการเรียนการสอนของตนเองให้มากขึ้น นักศึกษาขาดความชำนาญและการพัฒนาตนเองในการใช้สื่อออนไลน์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และด้านความพึงพอใจควรมีการประเมินหลังการใช้สื่อออนไลน์ในการพัฒนาการเรียนการสอน

References

กมลณัฐ โตจินดา. (2556). การศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการ Social Network ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์. คณะเศรษฐศาสตร์ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545). กรุงเทพฯ : เดอะบุคส์.

ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน (2556). บทบาทของสื่อใหม่ในการสร้างค่านิยมทางสังคมและอัตลักษณ์ของเยาวชนไทยกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สาวิตรี ไทรเขื่อนขันธ์ (2556). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2560). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2560 โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). กรุงเทพฯ : สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

อมรรัตน์ วงศ์โสภา. (2557). พฤติกรรมการใช้และผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊กต่อการดำเนินชีวิตของนักศึกษา : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
Published
2022-06-27
How to Cite
สุปภาโส(ปะพะลา), พระครูปลัด ทองใบ; สายจันเจียม, จุรี; ทุมอนันต์, อดิศักดิ์. การใช้สื่อออนไลน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาการปกครองท้องถิ่น ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 188-199, june 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1913>. Date accessed: 19 apr. 2024.
Section
Research Article