ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ที่มีต่อความสามารถในการเขียนสื่อความภาษาไทยและความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี
THE EFFECTS OF COOPERATIVE LEARNING INSTRUCTION TOGETHER WITH CIRC TECHNIQUE ON THE ABILITY OF THAI WRITING FOR COMMUNICATION AND WORKING DETERMINATION OF GRADE 8 STUDENTS IN SCHOOLS UNDER THE SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE KANCHANABURI
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาความสามารถในการเขียนสื่อความภาษาไทย หลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRCเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 2)เพื่อศึกษาความมุ่งมั่นในการทำงานหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC 2)แบบทดสอบความสามารถในการเขียนสื่อความภาษาไทย และ 3)แบบประเมินความมุ่งมั่นในการทำงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการเขียนสื่อความภาษาไทยหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนได้ผล 75.20 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2. หลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงานอยู่ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
เชิญพร สีสุดทา, ประสพสุข ฤทธิเดช และกัลยา กุลสุวรรณ. (2562). การพัฒนาการเขียนสื่อสารภาษาไทยของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยใช้แผนผังความคิดประกอบแบบฝึกทักษะ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 13(3). 3-9.
ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธิติสรณ์ สุ่มมาตย์. (2561). ผลการใช้เทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี ที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ผกาวรรณ สุวรรณภูมานนท์. (2560). การศึกษาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
พิสมัย กองธรรม. (2552). ผลการเรียนแบบร่วมมือแบบ ซี ไอ อาร์ ซี ผสมผสานกับวิธีซินเนคติกส์ต่อความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนและการนิเทศ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2552). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2552). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิไลรัตน์ เลิศวิทยานุศิษฏ์. (2557). ผลการใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์กับปริศนาคำทาย ที่มีต่อความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์และความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหอย จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Slavin, R.E. Steven, R.J., Medden, N.A., &Farnish, A.M. (1987). Cooperative Integrated Reading and Composition: Two Field Experiments. Reading Research Quarterly. 22(3). 433-454.