การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การแก้ปัญหาแบบร่วมมือ
DEVELOPMENT OF ACADEMIC ACHIEVEMENT AND ABILITY TO SOLVE PROBLEMS MATHEMATICAL OF PRATHOMSUKSA 6 STUDENTS BY COLLABORATIVE PROBLEM SOLVING
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือโดยใช้การแก้ปัญหาแบบร่วมมือก่อนเรียนและหลังเรียน 2)เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้การแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ให้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโคกย่าง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 9 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ 1)แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ 12 แผนการเรียนรู้ แผนละ 1 ชั่วโมง 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3)แบบวัด การแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ระยะเวลาในการวิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้การแก้ปัญหาแบบร่วมมือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การแก้ปัญหาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การแก้ปัญหาแบบร่วมมือในขั้นตอนที่ 1 ขั้นรวบรวมหรือระบุปัญหา มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 24 จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการนำเสนอปัญหาพร้อมกับสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัญหาในรูปแบบต่างๆ เช่น ตารางกราฟ สัญลักษณ์ หรือคำพูด ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 24 จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ขั้นตอนที่ 3 ขั้นการคิดกลยุทธ์วิธีเพื่อแก้ปัญหาและดำเนินการตามกลยุทธ์(เขียนเป็นประโยคทางคณิตศาสตร์หรือวิธีการแก้ปัญหา) ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 17.11 จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 71.29 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ขั้นตอนที่ 4 ขั้นการให้ผลป้อนกลับที่ได้จากการทำตามกลยุทธ์ในระหว่างการแก้ปัญหา(การตรวจคำตอบหรือผลของการใช้วิธีการแก้ปัญหา)ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 13.00 จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 54.17 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้แต่เมื่อรวมทั้ง 4 ขั้นตอนแล้วมีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 81.37 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
References
กองสิน อ่อนวาด. (2550). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
กันต์กนิษฐ์ พลพิพัฒน์. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้กลวิธี STAR. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ธีรฎา ไชยเดช. (2558). การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 8(1). 72-74.
พร้อมพรรณ อุดมสิน. (2544). การวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด.
พัชรินทร์ ทิตะยา. (2562). การพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ TAI ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. วิทยาลัยครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พิมณิชา ทวีบท. (2559). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ เรื่องปริมาณสารสัมพันธ์ด้วยรูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. วารสารศึกษาศาสตร์. 22(1). 153-155.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2560). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2562. จาก http://www.onetresult.niets.or.th
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). การวัดและประเมินผลคณิตศาสตร์.กรุงเทพฯ : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน).
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2542). เทคนิคการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
สุนีย์ คล้ายนิล. (2550). การศึกษาวิทยาศาสตร์ไทย การพัฒนาการและภาวะถดถอย. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).