การพัฒนาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
THE DEVELOPMENT OF GUIDELINES FOR THE MANAGEMENT WITH THE TEACHERS' PARTICIPATION IN THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE MAHASARAKHAM
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม 2)เพื่อเสนอแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 318 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ตามขอบข่ายงาน 4 ฝ่าย ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป สรุปได้ดังนี้ 1)การมีส่วนร่วมในการวางแผน 1.1)ครู มีส่วนร่วมในการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลของกิจกรรม 1.2)ครูมีส่วนร่วมในการวางแผนจัดสรรงบประมาณและทรัพยากร 1.3)ครูมีส่วนร่วมในการแบ่งบทบาทหน้าที่ ภาระงานและมอบหมายผู้รับผิดชอบ 2)การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ 2.1)ครูได้ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ตามที่ ได้รับมอบหมาย 2.2)ครู มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมด้วยความเต็มใจและเต็มความสามารถ 2.3)ครู มีการบูรณาการการทำงานในทิศทางเดียวกันและมีความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจกรรม 3)การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ 3.1)ครู มีส่วนร่วมการให้ความเห็นชอบโครงการและกิจกรรม 3.2)ครู มีความพึงพอใจในประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน 4)การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประเมินผล 4.1)ครู มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน 4.2)ครู มีส่วนร่วมในการสะท้อนผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงและพัฒนาแนวทางการดำเนินงาน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). กฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการคุณสมบัติหลักเกณฑ์และวิธีสรรหาการเลือกประธานกรรมการและกรรมการวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวทางในการปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.
นิรุทธ์ นันทมาศวังนรา, ปิย สุดิสุสดี, โนรีณี เบ็ญจวงศ์ และณพัฐธิกา ปิติเลิศศิริกุล. (2564). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนกลุ่มเขื่อนบางลางสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. วารสารรัชต์ภาคย์. 15(40). 239-248.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
เมตต์ เมตต์การุณจิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม : ประชาชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.
ศิริรัตน์ ทับเจริญ และพรเทพ รู้แผน. (2554). การนำเสนอแนวทางการริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสวรรค์. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 1(1).49-58.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณพ.ศ.2564. มหาสารคาม : หยกศึกษาภัณฑ์และการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2547).แผนการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.
สิทธิชัย อุตทาสา และพิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2563). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วารสาร มจร. พุทธปัญญาปริทรรศน์. 5(3). 28-40.
อนุวัฒน์ ติ้งโหยบ และอุไร สุทธิแย้ม. (2564). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนในสหวิทยาเขตเสรีไทยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารบัณฑิตวิจัย. 12(1). 1-14.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2543). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการบริหารและจัดการของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.