การเสริมสร้างพลังอำนาจครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1

THE TEACHER EMPOWERMENT AFFECTING THE EFFECTIVENESS OF ACADEMIC ADMINISTRATION OF SCHOOLS UNDER YASOTHON PRIMARY EDUCATIONAL AREA OFFICE 1

  • พิชญา แสงทองทิพย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ยุวธิดา ชาปัญญา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 2) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 3)เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 305 คน เครื่องมือ   ที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน 


              ผลการวิจัยพบว่า 1. การเสริมสร้างพลังอำนาจครู โดยรวมและรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย ด้านการมีบรรยากาศในองค์การที่ดี ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการได้รับความเชื่อมั่นในศักยภาพ ด้านการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และด้านการมีอิสระ 2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านการวางแผนงานด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ส่วนด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอยู่ในระดับมาก 3. การเสริมสร้างพลังอำนาจครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านการได้รับความเชื่อมั่นในศักยภาพ            ด้านการสร้างแรงจูงใจในการทำงานและด้านการมีอิสระโดยตัวแปรทั้งสามร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนของประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาได้ร้อยละ 51.5 

References

กมล ภู่ประเสริฐ.(2545). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เมธีทิปส์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จิรวรรณ อังศุชวาลวงศ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ชาญชัย รัตนสุทธิ. (2552). การพัฒนาความเป็นมืออาชีพของครูด้วยกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศชากร แสนสุริวงค์. (2562). ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ไทพนา ป้อมหิน. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนครพนม.

ประวิต เอราวรรณ์. (2539). การเสริมสร้างพลังอำนาจครู : การวิจัยแบบสนทนากลุ่ม. กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

พรฐิตา ฤทธิ์รอด. (2556). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเสริมพลังอำนาจ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พัชรี นาคบุญแย้ม. (2551). แนวทางพัฒนาการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยกำแพงเพชร.

ยุวธิดา ชาปัญญา. (2554). การเสริมสร้างพลังอำนาจของครูประถม : การวิจัยทฤษฎีฐานราก.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รุ่ง แก้วแดง. (2542). แนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิผลและประสิทธิภาพองค์การ ในประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 9-12. นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิวนาถ ไชยมาศ. (2558). รูปแบบการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในภาวะผู้นำทางวิชาการของครู. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สถาพร ภูบาลเช้า. (2559). แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. (2562). รานงานผลคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. ยโสธร : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1.

Laschinger, H.K.S., & Havens, M. (1996). Staff nurse work empowerment and perceived control over nursing practice. Journal of Nursing Administration. 26(3). 27-35.
Published
2022-06-23
How to Cite
แสงทองทิพย์, พิชญา; ชาปัญญา, ยุวธิดา. การเสริมสร้างพลังอำนาจครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 53-67, june 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1903>. Date accessed: 15 dec. 2024.
Section
Research Article