การพัฒนาแนวทางการบริหารตามมาตรฐานโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด

The Guideline Development for the Standard of Upright School Administration under the Secondary Educational Service Area Office Roi Et

  • พิมพ์ชนก หชัยกุล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สินธะวา คามดิษฐ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นและเพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารตามมาตรฐานของโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ดการดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารตามมาตรฐานของโรงเรียนสุจริต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 342 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น(PNImodified) ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการบริหารตามมาตรฐานของโรงเรียนสุจริตเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารตามมาตรฐานโรงเรียนสุจริต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนดัชนีความต้องการจำเป็น เรียงตามลำดับตามมาตรฐานจากมากไปน้อย ดังนี้ การบริหารงบประมาณ การบริหารวิชาการ การบริหารบุคคล และการบริหารทั่วไปและ 2. แนวทางการบริหารตามมาตรฐานโรงเรียนสุจริต มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1)แนวคิดและหลักการ 2)วัตถุประสงค์ 3)วิธีดำเนินการ ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงานจำแนกตามมาตรฐาน ได้แก่ 1)การบริหารงบประมาณ มี 3 ตัวบ่งชี้ 18 แนวทาง 2)การบริหารวิชาการ มี 4 ตัวบ่งชี้ 30 แนวทาง               3)การบริหารบุคคล  มี 3 ตัวบ่งชี้ 22 แนวทางและ 4)การบริหารทั่วไป มี 3 ตัวบ่งชี้ 23 แนวทาง โดยใช้วงจรคุณภาพเดมมิ่ง ขับเคลื่อนการบริหารงานดังกล่าวและ 4)เงื่อนไขความสำเร็จ ส่วนผลการประเมินแนวทาง พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การค้ารับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กิตติมา ปรีดีดิลก. (2559). ทฤษฎีบริหารองค์กร. กรุงเทพฯ : ชนะการพิมพ์.

ธัชชัย จิตรนันท์. (2562). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์.

วชิรวิทย์ นิติพันธ์ และสุวิทย์ ภาณุจารี. (2563). รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. 6(2). 84–98.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติระยะที่ 3 ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต. นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนสุจริต. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). มาตรฐานโรงเรียนสุจริต. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สุพัตรา กุสิรัมย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนสุจริตของ
โรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนเครือข่ายในจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
Published
2022-01-24
How to Cite
หชัยกุล, พิมพ์ชนก; คามดิษฐ์, สินธะวา. การพัฒนาแนวทางการบริหารตามมาตรฐานโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 191-203, jan. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1826>. Date accessed: 15 may 2024.
Section
Research Article