การศึกษาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด

The Study of Digital Literacy of Matthayomsuksa 3 Students under the Secondary Educational Service Area Office Roi Et

  • พรพิชชา หลักคำ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ลักขณา สริวัฒน์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาทักษะการรู้ดิจิทัลและความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2)เพื่อเปรียบเทียบทักษะการรู้ดิจิทัลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ดที่มีความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกัน และ 3)เพื่อเปรียบเทียบทักษะการรู้ดิจิทัลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ดในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 365 คน จาก 30 โรงเรียน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามทักษะการรู้ดิจิทัล และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


            ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ดมีทักษะการรู้ดิจิทัลอยู่ในระดับมาก และมีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) อยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 67.50 รองลงมา อยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ ร้อยละ 25.24 และอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ ร้อยละ 7.26 2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ดที่มีความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกัน มีทักษะการรู้ดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ดในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีทักษะการรู้ดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมสุขภาพจิต. (2543). คู่มือความฉลาดทางอารมณ์. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2564. จาก http:// healthnet.md.chula.ac.th/text/forum1/smile/eq/eq/10.html

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.กรุงเทพฯ : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

ณัฐภร อินทุยศ. (2556). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณิชาฎา ใจซื่อ. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ของกลุ่ม Gen X และ Gen Y ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าเกษตรออนไลน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ธิดา แซ่ชั้น และทัศนีย์ หมอสอน. (2559). การรู้ดิจิทัล: นิยาม องค์ประกอบ และสถานการณ์ในปัจจุบัน. วารสารสารสนเทศศาสตร์. 34(4). 116-145.

ธิดา แซ่ชั้น. (2562). การพัฒนาแบบจำลองการเรียนการสอนบนเว็บโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้ดิจิทัล สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประวิตร จันทร์อับ. (2561). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และผลกระทบต่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดพิษณุโลก. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พงค์ศักดิ์ จิตสอาด จินตนา จันทร์เจริญ และบรรจบ บุญจันทร์. (2560). การศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1-2. Veridian E Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(1). 878-890.

พนม เกตุมาน. (2550). ปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่น. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2564. จาก http://www.psyclin .co.th/new_page_56.htm

พิมพ์รัตน์ ธรรมรักษา และอาภาพร เผ่าวัฒนา. (2562). ความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 35(3). 212-223.

วิลัยพร นุชสุวรรณ. (2555). ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์วิทยาลัยพยาบาลเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยพยาบาลเชียงราย.

วิไลลักษณ์ พงษ์โสภา. (2555). สุขวิทยาจิต = Mental Hygiene. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). โรงเรียนมาตรฐานสากล คู่มือบริหารจัดการคุณภาพ. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. (2563). สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2557). ความเชื่อกับวิทยาศาสตร์. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.

สุชา จันทน์เอม. (2540). จิตวิทยาพัฒนาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

อรวรา ทิพย์กำพร. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Li, Y. and Ranieri, M. (2010). Are ‘Digital Natives’ Really Digitally Competent?-A Study on Chinese Teenagers. British Journal of Educational Technology. 41(6). 1029-1042.

Luthfia, A., Wibowo, D., Widyakusumastuti, M. A., and Angeline, M. (2021). The Role of Digital Literacy on Online Opportunity and Online Risk in Indonesian Youth. Asian Journal for Public Opinion Research. 9(2). 142–160.

Salovey, P. and Mayer, J. D. (1990). Emotional Intelligence. Imagination, Cognition, and. Personality. 9. 185-211.
Published
2022-01-10
How to Cite
หลักคำ, พรพิชชา; สริวัฒน์, ลักขณา. การศึกษาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 145-159, jan. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1823>. Date accessed: 15 may 2024.
Section
Research Article