ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในภาตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

The Affecting Factors on People Political Participation in the Lower North Eastern

  • พระมหาภูลังกา จันทร์ดี มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
  • ชัยยศ จินารัตน์ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ทางการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบความรู้ทางการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมือง 3)เพื่ออธิบายและพยากรณ์ ความรอบรู้ทางการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมือง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่เป็นประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด และศรีสะเกษ จำนวน 331 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน


          ผลการวิจัยพบว่า 1.  ความรอบรู้ภายใน อุดมการณ์ทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมือง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (2,87, 2.98 และ 2.92) และมีความเป็นปกติของข้อมูลอยู่ในระดับปานกลางด้วยเช่นเดียวกัน เพียงแต่มีบางองค์ประกอบเท่านั้น ที่ค่าเฉลี่ยค่อนข้างผิดปกติ เช่น อุดมการณ์หัวรุนแรง หรือ กลุ่มอนุรักษ์นิยม หรือการเลือกตั้ง รณรงค์หาเสียง และการทำกิจกรรมโต้แย้งของประชาชน ของตัวแปรการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน 2. ตัวแปรความรอบรู้ทางการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมือง มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระดับปานกลาง โดยมีค่า r ระหว่าง .616-.694 3. ความรอบรู้ภายในที่มีองค์ประกอบ ความเชื่อมั่น และความสามารถของแต่ละคนนั้น อธิบายความแปรปรวนร่วมกันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยมีสัมประสิทธิ์พยากรณ์ร่วมกันร้อยละ 38 (Sig. 000, Std error .43) และมีความเป็นอิสระต่อกันตามค่า Durbin-Watson ที่ไม่เกิน 2.50 โดยมีค่าเท่ากับ 1.40 นอกจากนั้นแล้ว แต่ละองค์ประกอบมีอิทธิพลต่อการทำนายร้อยละ 17 ความเชื่อมั่น และร้อยละ 49 ความสามารถเฉพาะบุคคลส่วนองค์ประกอบอุดมการณ์ทางการเมือง แบบหัวรุนแรง แบบโต้แย้ง และเสรีนิยม สามารถอธิบายความแปรปรวนร่วมกันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยตัวแปรหัวรุนแรง สามารถพยากรณ์ได้มากเป็นอันดับหนึ่ง ร้อยละ 33 (Sig. 000, e. 04) รองลงมาเป็นแบบเสรีนิยม ร้อยละ 16 (Sig. 012, e. 05) ส่วนแบบโต้แย้ง มีอิทธิพลร้อยละ 15 (Sig. .010, e. 05) แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองตัวแปรพยากรณ์ มีสัมประสิทธิ์พยากรณ์ร่วมกันได้ร้อยละ 32 (Sig .000 Std. error. 45)

References

กิตติทัศน์ ผกาทอง (2563). คนรุ่นใหม่กับกิจกรรมทางการเมือง. หนังสือพิมพ์มติชน. วันที่ 23 ตุลาคม 2563.

ไทยรัฐ. (2563). สิทธิประชาชนที่หายไป. หนังสือไทยรัฐ. วันที่ 7 ธันวาคม 2563.

ธมกร ทยาประศาสน์. (2563). การใช้สื่อออนไลน์และความรู้ทางการเมืองที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วม ภาคพลเมือง. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2563). การแย่งชิงพื้นที่ทางการเมืองครั้งใหม่. หนังสือพิมพ์มติชน. วันที่ 23 ตุลาคม 2563.

มติชน (2563). ม็อบที่ไม่ใช่ม็อบแต่มันคือชีวิต. หนังสือพิมพ์มติชน. วันที่ 31 ตุลาคม 2563.

วีระศักดิ์ จินารัตน์. (2563). Social Media และแนวโน้มการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบ Digital ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2562 : กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทย. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.

Abramowitz, A.I., & Saunders, K.L. (1998). Ideological Realignment in the U.S. Electorate. Journal of Politics. 60(6). 34-52.

Baldassarri, D. (2011). Partisan joiners: Associational membership and political Polarization in the United States (1974-2004). Social Science Quarterly. 92(3). 631-655.

Dalisay, F., Kushin, M.J., & Yamamoto, M (2019). The Demobilizing Potential of Confect for Web and Mobile Political Participation. Civic Engagement and Politics. 2019. 1342-1361.

Johnston, C. D., &Wronski, J. (2015). Personality dispositions and political preferences across hard and easy issues. Political psychology. 36(1). 35-53.

Jost, J.T. (2006). The end of the end ideology. American Psychologist. 61(7). 651-670.

Jost, J.T., Federico, C.M. & Napier, J.L. (2009). Political ideology: Its structure, function, and elective affinities. Annual Review of Psychology. 60. 307-337.

Kandler, C., Bleidorn, W., & Riemann, R. (2012). Left or right? Sources of political. Orientation : The roles of genetic factors, cultural transmission, assortative mating, and personality. Journal of Personality and Social Psychology. 102(3). 633-645.

Layman, G.C., & Carsey, L.M. (2000). Ideological Realignment in Contemporary American Politics: TheCase of Party Activists. Unpublished Manuscript.

Levy, D.A. & Nielsen, R.K. (2018). Reuters Institute Digital News Report 2018. University of Oxford.

Min, S. J., &Wohn, D. Y. (2018). All that you news that you don’t like: Cross-cutting exposure and political participation in the age of social media. Computers in Human Behavior. 83. 24-31.

Mixon, F.G., Sankaran, C. & Upadhyaya, K.P. (2019). Is political ideology stable?. Evidence from long-service members of the United States Congress.

Seeberg, H.B. (2017). How Stable is Political Partes’ Issue Ownership? A Cross-Time, Cross-National Analysis. Political Studies. 65. 475-92.

Westfall, J., Van Boven, L., Chambers, J. R., & Judd, C. M. (2015). Perceiving political polarization in the United States: Party identity strength and attitude extremity exacerbate the perceived partisan divide. Perspectives on Psychological Science. 10(2). 145-158.
Published
2022-01-11
How to Cite
จันทร์ดี, พระมหาภูลังกา; จินารัตน์, ชัยยศ. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในภาตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 104-117, jan. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1818>. Date accessed: 04 dec. 2024.
Section
Research Article