โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2

Academic Leadership Enhancement Program for Teachers in 21st Century Under Kalasin Primary Educational Service Area Office 2

  • หฤชนันก์ แสนกันยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • บุญชม ศรีสะอาด มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ของภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 2)เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จากสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 298 คน ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูในศตวรรษที่ 21 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น


            ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูในศตวรรษที่ 21 โดยรวม 4 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาตนเองและเพื่อนครูส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ ด้านการพัฒนานักเรียน ด้านการพัฒนาตนเองและเพื่อนครู และด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามลำดับ 2. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1)หลักการ 2)วัตถุประสงค์ 3)เนื้อหา 4)วิธีการพัฒนา และ 5)การประเมินผลติดตามผล เนื้อหาภายในโปรแกรม ประกอบด้วย 4 โมดูล ได้แก่ 1)การพัฒนาตนเองและเพื่อนครู 2)การพัฒนานักเรียน 3)การการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ และ 4)การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มีผลการประเมินความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ของโปรแกรมในการนำไปใช้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จากผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กาญจน์ เรืองมนตรี และ ธรินธร นามวรรณ. (2557). การบริหารวิชาการและนวัตกรรมการจัดการการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์.

นิสาลักษณ์ จันทร์อร่าม. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปริญญา มีสุข. (2552). ผลของการออกแบบโปรแกรมการพัฒนาทางวิชาชีพแบบมีส่วนร่วมของครู.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรา วาณิชวศิน. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำ : จากทฤษฎีสู่แนวปฏิบัติที่ดีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). เพื่อการเป็นผู้นำของการครุศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันทนา จําปาศรี. (2558). การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร และพัฒนาการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วัลลภ ปุยสุวรรณ์. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วาทิน พุฒเขียว. (2560). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วิศวะ ผลกอง. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กลุ่มนโยบายและแผน : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). เอกสารประกอบการพัฒนาหลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2554). การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสายสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Chen, A. and Liu, X. (2009). Task values, cost and choice decisions in college physical education. Journal of Teaching in Physical Education. 28(2). 192-213.

Duke, J. T. (1994). Conflict and Power in Social Life. Provo Utha : Brighman Yong University Press.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 608-609.

Lieberman, A., Saxl, E.R. and Miles, M.B. (2000). Teacher Leadership: Ideology and Practice’, in A. Lieberman, E.R. Saxl and M.B. Miles (eds) The Jossey-Bass Reader on Educational Leadership. Chicago : Jossey.

Lombardo, Michael M and Eichinger, Robert W. (1996). The Career Architect Development Planner. Minneapolis : Lominger.

Neuman, M. & Simmons, W. (2000). Leadership for student learning. Phi Delta Kappan. 82(2000). 8-12.
Published
2021-12-21
How to Cite
แสนกันยา, หฤชนันก์; ศรีสะอาด, บุญชม. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 51-64, dec. 2021. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1813>. Date accessed: 04 dec. 2024.
Section
Research Article