การบริหารจัดการ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด

MANAGEMENT OF 1st INFANTRY BATTALION 16th DEPARTMENT OF INFANTRY ROI ET PROVINCE

  • เกียรติศักดิ์ ป้องรัตนไสย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูชัยรัตนากร , ดร. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการบริหารจัดการกองพันทหารราบที่ 1  กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด 2)เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการ ความคิดเห็นของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด โดยจำแนกตามระดับชั้นยศ และประสบการณ์ทำงาน 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารจัดการกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นกำลังพลกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 150 นายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test แบบ Independent และค่า F-test


               ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการ กองพันทหารราบที่1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการของกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด โดยจำแนกตาม ระดับชั้นยศ และประสบการทำงาน โดยรวม พบว่า ระดับชั้นยศนายทหารชั้นประทวน และชั้นยศนายทหารชั้นสัญญาบัตร มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด ที่แตกต่างกัน และประสบการณ์ทำงาน ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองพันทหารราบที่ 1กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด ที่แตกต่างกัน 3. สรุปผลการศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการกองพันทหารราบที่ 1กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด  3.1) ด้านการริหารงานธุรการและกำลังพล ควรจัดเจ้าหน้าที่ควรติดตามและใส่ใจในเรื่องสิทธิต่างๆ ของกำลังพล ควรมีมาตรการรองรับที่เข้มงวดสำหรับกำลังพลที่กระทำความผิด  และควรการบริการด้านสิทธิต่าง ๆ ของกำลังพลมีความล้าช้า  3.2) ด้านการบริหารงานการข่าว ควรมีบริการอินเทอร์เน็ตฟรีสำหรับบ้านพักหรือห้องแถวข้าราชการเพื่อให้ไวต่อการติดต่อข่าวสาร  และควรอยากให้แจ้งข่าวสารที่สำคัญฃๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยและกำลังพล อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง  3.3) ด้านการบริหารการส่งกำลังบำรุงและการสนับสนุนควรมีการส่งกำลังบำรุงประเภท สป.1ให้เพียงพอต่อความต้องการของกำลังพล  การเบิก จ่าย  สิ่งอุปกรณ์ประเภท สป.ต่างๆ  ควรทำเรื่องเบิก คืน ส่งซ่อม ตามวงรอบเพื่อให้มียุทโธปกรณ์พร้อมใช้อยู่เสมอ 3.4) ด้านการบริหารงานยุทธการ  ควรสับเปลี่ยน หมุนเวียน กำลังพล สำหรับการปฏิบัติงานและการเข้ารับการการจัดกำลังในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ยังคลุมเครือไม่ชัดเจนในหลายๆ ด้าน

References

กระทรวงกลาโหม. (2503) พระราชบัญญัติการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503. กรุงเทพฯ : กระทรวงกลาโหม.

กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16. (2564). การบริหารจัดการหน่วยของกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16. ร้อยเอ็ด : กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 ค่ายประเสริฐสงคราม.

เกรียงไกร เจริญพานิช. (2541). ความพงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์สถาบันราชภัฏเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดนุพันธ์ วิสุวรรณ. (2561). การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พันเอก อมร พิมพ์สี. (2562). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในหน่วยทหารระดับกองพันที่มีการจัดแบบอัตราการจัดและยุทโธปกรณ์. เอกสารงานวิจัยส่วนบุคคล. วิทยาลัยการทัพบก.

ยุทธ ไกยวรรณ์ และกุสุมา ผลาพรม. (2553). พื้นฐานการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

Herzberg. (1959). The motivation to work. 2nd ed. American : John Wiley.
Published
2022-03-28
How to Cite
ป้องรัตนไสย์, เกียรติศักดิ์; , ดร., พระครูชัยรัตนากร; ถิ่นแสนดี, ธีรภัทร์. การบริหารจัดการ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 12-23, mar. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1783>. Date accessed: 25 nov. 2024.