การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการครองตน ครองคน และครองงานของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1
THE APPLICATION OF BUDDHIST PRINCIPLES ON SELF-MANAGEMENT, MAN-MANAGEMENT, AND JOB-MANAGEMENTIN THE SCHOOLS UNDER THE ROI ET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
Abstract
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการครองตน ครองคนและครองงานของบุคลากรในสถานศึกษา 2)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการครองตน ครองคนและครองงานของบุคลากรในสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน 3)เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการครองตนครองคนและครองงานของบุคลากรในสถานศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 313 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.67-100 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และแบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t–test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One–Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการครองตนครองคนและครองงานของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือหลักพุทธธรรมในการการครองงาน : อิทธิบาท 4 รองลงมา คือ หลักพุทธธรรมในการการครองคน : สังคหวัตถุ 4 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ หลักพุทธธรรมในการครองตน : สัปปุริสธรรม 7 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการครองตนครองคนและครองงานของบุคลากร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีตำแหน่งที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกัน ยกเว้นประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน รายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางในการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการครองตน ครองคน และครองงานของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษา ได้แนวทาง ดังนี้ บุคลากรในสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้และเข้าใจในหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบ กฎ ข้อบังคับ มติ กฎหมายและนโยบายอย่างท่องแท้ และมีทักษะความสามารถในการนำความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี รักและชอบงานที่ทำอย่างเต็มใจ จริงใจและทุ่มเท
References
ทองพูน สวัสดิรักษา. (2557). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในสถานศึกษา อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นวรัตน์ อายุยืน. (2561). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
นันท์นัทธฉัตร ศรีวิเศษ. (2558). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการปฏิบัติงานของผู้บริหารและครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
พระดนัย อนาวิโล (บุญสาร). (2554). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในสถานศึกษา กรณีศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาจรูญ อภิธมฺมจิตฺโต, ปิยวรรณ หอมจันทร์, ภัทรพล ใจเย็น. (2562). หลักธรรมเพื่อการบริหารตนบริหารคนและบริหารงาน. การประชุมวิชาการระดับชาติ มจร. ครั้งที่ 3. 269-277.
พระสุวรรณา อินฺทโชโต (เหือน). (2563). การใช้อิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา10 มกราคม 1979 จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา.วิทยานิพนธ์หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
เพ็ญนภา พิลึก. (2556). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในสถานศึกษา กรณีศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภารดี อนันต์นาวี. (2553). หลักการแนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). ชลบุรี : มนตรี.
Vertigan, S.A. (2013). Ethics and the business of schooling : developing a critical realist Methodology. Retrieved 18 January 2021. from http://eprints.ioe.ac.uk/id/eprint/ 7511