การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด
PARTICIPATORY ADMINISTRATION OF ACADEMIC AFFAIRS BASED ON THE FOUR PRINCIPLES OF SANGAHAVATTHU BY THE BASIC EDUCATION COMMISSION OF THE OPPORTUNITY EXPANSION SCHOOLS IN PATHUM RAT DISTRICT, ROI ET PROVINCE
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักสังคหวัตถุ 4 2)เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักสังคหวัตถุ 4 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักสังคหวัตถุ 4 กลุ่มเป้าหมาย คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 90 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ PNImodified
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักสังคหวัตถุ 4 อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการวัดและประเมินผล และสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการวัดและประเมินผล 2)ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้านการนิเทศการศึกษาด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 3. ข้อเสนอแนะมีดังนี้ 1)ควรเสียสละเวลาและแบ่งปันความรู้ เพื่อจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้ทันสมัยและสอดคล้องกับท้องถิ่น 2)ควรร่วมกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีคุณภาพ จัดหางบประมาณ และส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3)ควรร่วมกันยกย่องนักเรียนที่มีผลการเรียนดี และร่วมออกแบบการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับท้องถิ่น 4)ควรร่วมกันเผยแพร่ผลงานที่ดีของโรงเรียน วางตัวเป็นกลางในการนิเทศการศึกษาและให้ข้อเสนอแนะด้วยความจริงใจ
References
จิราภรณ์ ผันสว่าง. (2562). ผู้นำกับการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพ Professional Education Leadership.มหาสารคาม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชะโลม คุ้มวงษ์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ประดิษฐ ศิลาบุตร. (2554). สถานศึกษากับชุมชน.ศรีสะเกษ : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
เปรมปวีร์ รักความซื่อ. (2560). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี กลุ่ม 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. พระนครศรีอยุธยา :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2550). การจัดและการบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม:ประชาชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : บุ๊ค พอยท์.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2557). การบริหารวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. สงขลา :ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (2562). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2562. ร้อยเอ็ด : กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการดำเนินงานการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : กลุ่มงานการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
อาทิตย์ โพนศรีสม. (2560). การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ด้านวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.