การบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยอินทรีย์และข้าวอินทรีย์ กรณีศึกษา บ้านท่าสี-หนองสำราญ ตำบลเกาะแก้วอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยอินทรีย์และข้าวอินทรีย์ 2)เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยอินทรีย์และข้าวอินทรีย์ กรณีศึกษา บ้านท่าสี-หนองสำราญ ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพที่วิเคราะห์ผลเชิงพรรณนา โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 20 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยอินทรีย์และข้าวอินทรีย์
การวางแผนการทำงานระบบกลุ่ม มีการวางโครงสร้างการทำงานที่ชัดเจนเน้นกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม มีการระดมทุนผ่านการให้สมาชิกเข้ามาทำงานในกลุ่มมีการปันผลกำไรในช่วงปลายปีและมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาตรวจสอบมาตรฐานการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพการผลิตสามารถพัฒนาเข้าสู่ตลาดสากลและนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ได้ 2. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยอินทรีย์และข้าวอินทรีย์ พบว่า การจัดการอบรมความรู้ด้านแผนควบคุมการผลิต และระบบควบคุมภายในผู้บริหารและสมาชิกจะต้องมีความรู้ด้านการบริหารและด้านการตลาดเพิ่มขึ้น การส่งเสริมและการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และข้าวอินทรีย์ในชุมชน เพิ่มการอบรมการฝึกปฏิบัติการผสมปุ๋ยอินทรีย์และฝึกปฏิบัติการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และข้าวอินทรีย์ให้ความรู้เรื่องวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เพิ่มระบบตรวจสอบมาตรฐานการผลิต ตลอดจนการส่งเสริมและเผยแพร่ให้เกษตรกรและบุคลทั่วไปใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีปราบศัตรูพืช
References
ขวัญกมล ดอนขวา. (2557). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
พจนีย์ ทรัพย์สมาน. (2546). การปรับปรุงคุณภาพอาหารท้องถิ่นภาคใต้ : ปลาแป้งแดง. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ยุพาพร รูปงาม. (2545). การมีส่วนร่วมของข้าราชการสำนักงบประมาณในการปฏิรูประบบราชการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม. คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.