การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียน โรงเรียนบ้านอิตื้อดอนหวายขมิ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียน 2)เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียน 3)เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียน โรงเรียนบ้านอิตื้อดอนหวายขมิ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนบ้านอิตื้อดอนหวายขมิ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันในการเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ในการเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียน โดยเรียงลำดับตามความต้องการจำเป็น ได้แก่ 1)ด้านมนุษยสัมพันธ์ 2)ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง 3 ด้านความซื่อสัตย์สุจริต 4)ด้านทักษะการแก้ปัญหา 5)ด้านความเสียสละ 6) ด้านความรับผิดชอบ และ 7)ด้านวิสัยทัศน์แห่งผู้นำ ตามลำดับ 2. รูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียน มีการดำเนินตามทฤษฎีระบบประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า โดยผ่าน กระบวนการ มีขั้นตอนการพัฒนารูปแบบมีวิธีการเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียนมีวิธีการประเมินกิจกรรมการเสริมสร้าง เพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ ผลการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคู่มือรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียน โรงเรียนบ้านอิตื้อดอนหวายขมิ้น ด้านความเหมาะสม โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นไปได้ โดยภาพรวมมีอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการใช้รูปแบบส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียนโรงเรียนบ้านอิตื้อดอนหวายขมิ้น 1)นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาภาวะผู้นำนักเรียน โดยใช้รูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียน หลังการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียนสูงกว่าก่อนการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียนโดยมีคะแนนเฉลี่ยรวม 24.88 คิดเป็นร้อยละ 83.73 และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ทุกคน 2)นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาภาวะผู้นำนักเรียน โดยใช้รูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียน มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงภาวะผู้นำ คะแนนประเมินรวม 2,643 คะแนน จากคะแนนประเมินเต็มรวม 3,120 ได้คะเฉลี่ยรวม 132.15 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.17 และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ทุกคน 3)นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียนตามรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก
References
เพ็ญพร ทองคำสุก. (2553). ตัวแบบสมการโครงสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ไพศาล จันทรภักดี. (2558). การพัฒนาภาวะผู้นำเยาวชน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการโดยใช้กระบวนการหลักสูตร. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ภารดี อนันต์นาวี. (2553). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยุทธนา อุทโธ, ปรีชา คัมภีรปกรณ์, ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์. (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตสาธารณะของคณะกรรมการสภานักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2(38). 167-174.
โรงเรียนบ้านอิตื้อดอนหวายขมิ้น. (2561). รายงานการคัดเลือกประธานนักเรียนและคณะกรรมการโรงเรียนของโรงเรียนบ้านอิตื้อดอนหวายขมิ้น. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1.
โรงเรียนบ้านอิตื้อดอนหวายขมิ้น. (2562). รายงานผลการดำเนินงานแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีของสถานศึกษา(SAR) ประจำปีการศึกษา 2562. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1.
ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ. (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล.
สมาน อัศวภูมิ. (2557). การบริหารสถานศึกษาตามแนวการปฏิรูปการศึกษายุคใหม่(ฉบับปรับปรุง). อุบลราชธานี : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (2560). การบริหารจัดการสื่อดิจิตอลเพื่อเด็กปฐมวัย. นครปฐม : สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน. (2557). การพัฒนากิจกรรมนักเรียน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์. (2553). กลยุทธ์การดูแลและสร้างเสริมสุขภาพ “วัยรุ่น”. กรุงเทพฯ : ชัยเจริญ.
สุวิทย์ ยอดสละ. (2556). การพัฒนาภาวะผู้นาเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เสถียร แป้นเหลือ (2553). การพัฒนาหลักสูตรีฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำสำหรับผู้นำองค์กรกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
DuBrin. (2010). Leadership: Research Finding Practice and Skills. Boston : Houghton Mifflin Company.