แนวทางการพัฒนาการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จากสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 จำนวน 334 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 มีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดส่วนความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1)ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2)ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3)ด้านการใช้และพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ 4)ด้านความรู้ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ และ 5)ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตร 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1)การสร้างและพัฒนาหลักสูตร 2)ความรู้ ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ 3)การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4)การใช้และพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ 5)การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ทั้ง 5 ด้าน มีแนวทางการพัฒนาการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา รวมทั้งสิ้น 33 แนวทาง โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
References
ชฎาพร สีหาวงค์. (2560). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและ การจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
น้ำฝน ชื่นชม. (2560). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ. (2553). ข้อเสนอแนะทางเลือกระบบการศึกษาที่เหมาะสมกับสุขภาวะคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. (2564). นโยบายมาตรการและแนวทางการดำเนินการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา 2564. อุดรธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2563. อุดรธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากลปี2561(IMD 2018). กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.
สำนักงานสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2553). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 : แนวทางปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
เสาวนีย์ แสงใส. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน.ตําบล จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.