การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2

AN APPLICATION OF THE FOUR BASES OF SUCCESS IN BUDDHISM TO ACADEMIC ADMINISTRATION OF ADMINISTRATORS UNDER THE ROI ET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

  • ธิติญา เพ็ชร์แผ้ว มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • เอนก ศิลปนิลมาลย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 2)เพื่อเปรียบเทียบการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู จำนวน 347 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ 5 คน โดยเลือกผู้ให้สัมภาษณ์ที่มีผลงานดีเด่นทางด้านงานวิชาการเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t- test (Independent Samples) และ F-test


             ผลการวิจัยพบว่า 1. การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน อายุต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 มีดังนี้ 1)ผู้บริหารควรมีใจรักในการวางแผนการดำเนินงานต่างๆ ของโรงเรียน 2)ผู้บริหารควรบริการชุมชนด้วยความเต็มใจ 3)ผู้บริหารควรพยายามหาวิธีการทำงานและอำนวยความสะดวกแก่บุคลากรด้วยความเต็มใจ วิริยะอุตสาหะ 4)จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน สรุปได้ดังนี้ 1)หลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้มีการดำเนินการตามแผนงานบริหารวิชาการของโรงเรียนสรุปและประเมินผลการใช้หลักสูตรและนำไปปรับปรุงในการดำเนินงานวิชาการให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด 2)มีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก โดยมีกระบวนการตรวจสอบ และประเมินคุณภาพที่ชัดเจน 3)มีการจัดการเรียนการสอนจัดให้มีการสอนซ่อมเสริมแก่นักเรียนอย่างสม่ำเสมอ สนับสนุนให้มีการใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น 4)มีการวัดผลประเมินผลการเรียนตลอดปีการศึกษาติดตาม ตรวจสอบเอกสารการวัดผลและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ 5)ผู้บริหารมีการออกนิเทศติดตามให้กำลังใจแก่ครูผู้สอนอย่างสม่ำเสมอ

References

คมกริช จันปาน, สำเร็จ ยุรชัย. (2562). การบริหารงานวิชาการสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 8(1). 138-147.

ต่อพงศ์ จริยศิลป์, พระครูวิจิตรปัญญาภรณ์. (2560). ความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 6(2). 23-32.

ธัญดา ยงยศยิ่ง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี. (2560). แนวทางการใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชน ภาคอีสานตอนกลาง โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต. วารสาร ศรีวนาลัยวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 7(2). 32-50.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปัณณภรณ์ ปานสรวง. (2551). บทบาทการบริหารงานวชาการตามทัศนะของผู้บริหารและครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 122. กรุงเทพฯ : สหธรรมิก

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74, หน้า 17.

ไพทูล ทุมมาวัต. (2559). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 124 ตอนที่ 47 ก,หน้า 15.

สำนักงานพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติกร. (2547). เอกสารประกอบการศึกษาด้วยตนเอง หลักสูตรผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูเพื่อดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารในสถานศึกษาปีงบประมาณ 2547. กรุงเทพฯ : รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สำนักงานศึกษาศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด. (2563). ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาปีการศึกษา2563 เอกสารหมายเลข 5/2563. ร้อยเอ็ด : กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด.

อรุณรัศมี พิฆาตไพรี, นิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2564). แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 10(1). 177-189.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Educational and psychological measurement. Determining Sample Size for Research Activities. 30(3). 607-610.
Published
2022-01-10
How to Cite
เพ็ชร์แผ้ว, ธิติญา; ถิ่นแสนดี, ธีรภัทร์; ศิลปนิลมาลย์, เอนก. การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 11-25, jan. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1745>. Date accessed: 27 apr. 2024.
Section
Research Article