สมรรถนะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด

ADMINISTRATIVE COMPETENCIES BASED ON THE FOUR SUBLIME STATES OF MIND OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE ROI ET

  • ศิริศักดิ์ พระศรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • กฤตยากร ลดาวัลย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • วิมลพร สุวรรณแสนเทวี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสมรรถนะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2)เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางพัฒนาสมรรถนะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่ครูผู้สอน จำนวน 330 คน และผู้ให้ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน 5 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test (Independent Samples) และ F–test (One–Way ANOVA) 


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อสมรรถนะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด  จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ยกเว้นด้านการสื่อสารและจูงใจที่ไม่มีความแตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์การทำงานต่างกัน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และจำแนกตามขนาดของสถานศึกษาต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 3. ข้อเสนอแนะและแนวทางพัฒนาเกี่ยวกับสมรรถนะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด มีดังนี้ 1) ผู้บริหารต้องพัฒนาเรื่องผลการเรียนนักเรียนเป็นสำคัญ 2) ผู้บริหารควรมีการนำนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารงานในด้านต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมาย  3)ผู้บริหารต้องรู้จักวิเคราะห์ปัญหาที่พบในปัจจุบันในเรื่องของการศึกษาหรือเรื่องการจัดการเรียนรู้ และควรหาแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้นๆ อย่างเป็นระบบ 4) ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องมีหลักคุณธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ในการบริหาร โดยหลักธรรมพรหมวิหาร 4 ถือเป็นหลักธรรมครองใจ ที่ผู้บริหารทุกคนต้องมี เพื่อให้งานเกิดประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แผนการจัดการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552 - 2559).กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2558). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชำนาญ สุรินาม. (2554). สมรรถนะของผู้บริหารและคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นฐานการศึกษายโสธร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

ปาริฉัตร ช่อชิต. (2559). สมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34.กรุงเทพฯ : มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต).

พิทูล ไชยศิริ. (2560). สมรรถนะหลักทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนบรบือวิทยาคาร. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 8. มหาวิทยาลยัราชภัฏสวนสุนนันทา. 1(8). 1688-1697.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. (2564). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ประจําปีการศึกษา 2564. ร้อยเอ็ด : กลุ่¬มนโยบายและแผน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. (2564). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://www. secondary27.go.th

สุรีพร โพธิ์ภักดี. (2558). สมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน ตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้. 8(1). 47-54.

หอมหวน แสนเวียงจันทร์. (2559). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารงานบุคคล อําเภอกบินทร์บุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยบูรพา.

อาราฟัด หัดหนิ. (2562). สมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Cronbach. (1990). Essentials of psychological testing. 5th ed. New York : Harper Collins Publishers.

Krejcie and Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(2). 607-610.
Published
2022-03-15
How to Cite
พระศรี, ศิริศักดิ์; ลดาวัลย์, กฤตยากร; สุวรรณแสนเทวี, วิมลพร. สมรรถนะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 59-70, mar. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1743>. Date accessed: 22 nov. 2024.