การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2

  • มณฑา วงษาไฮ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • จิราภรณ์ ผันสว่าง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 2)เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา 4)เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว(One-Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F-test


          ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2  โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นเพศที่แตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา มีดังนี้ (1)ควรจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (2)ควรจัดกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาสุขภาพกายตามพัฒนาการช่วงอายุของนักเรียน และ (3)ควรจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากของจริงและลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง 4)แนวทางเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน  5 คน ได้แนวทาง ดังนี้ (1)โรงเรียนจะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560  (2)โรงเรียนจะต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการและการทำงานของสมอง อายุ วุฒิภาวะ และระดับพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ (3)โรงเรียนจะต้องส่งเสริมการผลิต จัดหาและพัฒนา สื่อ อุปกรณ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของครู บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างต่อเนื่อง (4)โรงเรียนจะต้องจัดประชุมผู้บริหาร ครู บุคลากร และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดปฏิทินการนิเทศ หรือแผนการนิเทศ กำกับ ติดตามที่เหมาะสม ต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรม และ (5)โรงเรียนจะต้องวางแผนการวัด ประเมินผล และรายงานผลการศึกษาระดับปฐมวัย อย่างเป็นระบบ

References

ธนพงศ์ ชุมศรี. (2556). การศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนระดับการศึกษาปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ปิยะพร ดวงศรี. (2558). สภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ภัทรวดี กาลจักร. (2555). การศึกษาความคิดเห็นของครูต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2564. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/074/1.PDF

รุ่งทิพย์ ชินกลาง. (2556). ปัญหาการบริหารงานวิชาการของศูนย์พัฒนาการศึกษาปฐมวัยสังกัดเทศบาลเมืองหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ละเบียง คำโคตร. (2555). การบริหารงานวิชาการการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาในศูนย์อำนวยการเครือข่ายกุดบาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

เลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รายงานการสังเคราะห์สภาวการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุพรรณิกา สีสอาด. (2554). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับอนุบาลศึกษา ในเขตบางกอกน้อย กรงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สุมิตรา ใสแสง. (2553). ศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัญชลี ศรเพ็ชร. (2552). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.
Published
2021-08-06
How to Cite
วงษาไฮ, มณฑา; ผันสว่าง, จิราภรณ์. การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 5, n. 2, p. 12-23, aug. 2021. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1726>. Date accessed: 16 may 2024.
Section
Research Article