พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุวิกฤตโควิด-19 ในเขตอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุวิกฤตโควิด-19 2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุวิกฤตโควิด-19 3)เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุวิกฤตโควิด-19 ในเขตอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนและข้าราชการในเขตอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 397 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น
ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุวิกฤตโควิด-19 ในเขตอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ตัวแปรตามโดยรวมทุกด้านมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุวิกฤตโควิด-19 อยู่ในระดับปานกลาง 2. ค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุวิกฤตโควิด-19 ในเขตอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ด้านการประเมินนโยบายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุพบว่าด้านบทบาทท้องถิ่น ด้านการสนับสนุน จากภาครัฐ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .420, .275 และ .040 ตามลำดับ 3. แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุวิกฤตโควิด-19 ในเขตอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ควรกำหนดกฎเกณฑ์การพัฒนาแนวทางการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและเครือข่ายภาคี การดูแลสุขภาพตนเองผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ และกำหนดรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ผู้นำชุมชน สร้างแบบจำลองพฤติกรรมของผู้สูงอายุ และการซักถามข้อมูล การรับฟัง การบรรยาย สรุปนโยบายที่นำไปปฏิบัติต่อผู้สูงอายุการจัดทำแผนโดยจะต้องมีความชัดเจนในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาพในทุกด้านตลอดจนค้นพบสาเหตุของปัญหาด้านสุขภาพผู้สูงอายุ ข้อมูลตามตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงการนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อเกิดความสอดคล้องกับนโยบายทางการพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุวิกฤตโควิด-19
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.
ทรรศณีย์ โกศัยทิพย์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุในอำเภอด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย. การศึกษาค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์. คณะสาธารณสุขศาสตร์ : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พูลศักดิ์ พุ่มวิเศษ. (2558). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 38(2). 25-34.
ระพีพรรณ คําหอม. (2554). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย เอกสารประกอบการสอน วิชาแนวคิดและทฤษฎีปฏิบัติงานสวัสดิการสังคม. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2550). การเตรียมการเข้าสู่วัยสูงอายุที่มีศักยภาพของบุคลากรกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 8(4). 25-34.
สุวิมล ติรกานันท์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.