ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ED 2063 การสอนภาษาไทย ระดับประถมศึกษาปีการศึกษา 2563 ของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ED 2063 การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาปีการศึกษา 2563 ของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมุมมองของนักศึกษาที่มีลักษณะส่วนบุคคลแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา จำนวน 29 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม เป็นแบบประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปโดยการวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ED2063 การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา ของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ พบว่า คุณลักษณะผู้สอน บริหารหลักสูตรและการบริการ ประวัติภูมิหลังของผู้เรียน การบริการของสถาบัน ลักษณะของผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน วิธีการสอน ภาระหน้าที่ของผู้เรียน เจตคติของผู้เรียน แรงจูงใจของผู้เรียนเมื่อพิจารณาโดยรวมและรายด้านมีระดับความคิดเห็นที่ระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ED2063 การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา ของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ที่มีเพศต่างกัน พบว่า นักศึกษาที่มีเพศต่างกัน จะมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกด้าน คุณลักษณะของผู้สอน ด้านการบริหารหลักสูตรและการบริการ ด้านประวัติภูมิหลังของผู้เรียน ด้านการบริหารของสถาบัน ด้านลักษณะของผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม ด้านวิธีสอน ด้านภาระหน้าที่ของผู้เรียน ด้านเจคคติของผู้เรียน ด้านแรงจูงใจของผู้เรียน แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว).
เกล้า จักทอน. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์. (2552). นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชลเทพ ปั้นบุญชู. (2021). แนวทางการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาฉบับกูรู. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2564. จาก http://knowledge.eduzones.com
พิชญาณี เชิงคีรี ไชยยะ และคณะ. (2560). เอกสารประกอบการเรียนการสอนรายวิชา การใช้ภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการสื่อสาร. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2562). เอกสารหลักสูตร มคอ.2 ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา. นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมนึก รินรุด. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สามารถ กมขุนทด. (2548). แนวทางการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองและชุมชนเพื่อพัฒนาผู้เรียนโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาโรงเรียนชวดอนุสรณ์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวดำเนินงานของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.