ศึกษาวิเคราะห์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

  • พระประวิท โกสโล(ฝ่ายทะแสง) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • สงวน หล้าโพนทัน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูวินัยธร ธรรมรัตน์ เขมธโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลและสมัยปัจจุบัน 2)เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 3)เพื่อวิเคราะห์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 12 รูป/คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า 1. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลและปัจจุบัน พบว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระธรรมทูตด้วยพระองค์เองในฐานะธรรมราชา ทรงมีรูปแบบและวิธีการเผยแผ่ที่หลากหลาย โดยการคำนึงถึงประโยชน์สุขอย่างยั่งยืนของผู้ฟังเป็นสำคัญ แม้ในสมัยหลังพุทธกาลถึงปัจจุบัน พระธรรมกถึกก็ยังปฏิบัติตามหลักการเป็นนักเผยแผ่หลักธรรมคำสอนแบบเชิงรุกโดยการประยุกต์หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาให้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน 2. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึก พบว่า เป็นงานที่ดำเนินตามกฎ ระเบียบ และคำสั่งของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึก มีวิธีการเผยแผ่ที่หลากหลาย แตกต่างกันออกไปตามคตินิยม สภาพแวดล้อมทางสังคม ส่วนเนื้อหาหลักธรรมสามารถประยุกต์ใช้กับเทคนิควิธีสมัยใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ฟัง 3. วิเคราะห์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึก พระธรรมกถึกมีการใช้เนื้อหาหลักธรรมหลายหมวด รวมทั้งข้อคิดคำคมในสถานการณ์ปัจจุบันมาใช้ โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมกับเพศ วัย อาชีพ สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการเผยแผ่หลักธรรม

References

กฤติยา วโรดม. (2558). พัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล. สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). พุทธวิธีในการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : บริษัท สหธรรมมิก จำกัด.

พระมหาถนัด อตฺถจารี และพระปลัดอาพล สุธีโร. (2543). พระธรรมทูตสายต่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโน). (2542). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รังสี สุทนต์. (2544). การศึกษาวิเคราะห์บทบาทของอนาถบิณฑิกอุบาสกที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมบัติ เสริมศิลป์. (2540). วรรณกรรมคำสอนพระพยอม กลฺยาโณ. วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
Published
2021-11-30
How to Cite
โกสโล(ฝ่ายทะแสง), พระประวิท; หล้าโพนทัน, สงวน; เขมธโร, พระครูวินัยธร ธรรมรัตน์. ศึกษาวิเคราะห์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 5, n. 2, p. 134-147, nov. 2021. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1686>. Date accessed: 15 may 2024.
Section
Research Article